รูปแบบทำนองเพลงบอก กรณีศึกษา “เพลงบอกสุรินทร์ (ศิษย์สร้อยเสียงเสนาะ) จันทร์ทอง”
คำสำคัญ:
ทำนอง, เพลงบอก, เพลงบอกสุรินทร์, (ศิษย์สร้อยเสียงเสนาะ) จันทร์ทองบทคัดย่อ
เพลงบอกเป็นวรรณกรรมที่ชาวภาคใต้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช มีศิลปินเพลงบอกที่มีชื่อเสียงมากมายเพลงบอกสุรินทร์ (ศิษย์สร้อยเสียงเสนาะ) จันทร์ทอง เป็นศิลปินเพลงบอกที่ได้รับความนิยมและมีผลงานเชิงประจักษ์ ดังสะท้อนจากรางวัลต่าง ๆ ได้แก่ รางวัลศิลปินพระพิฆเนศทองคำ ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ.2541 โล่เกียรติยศจากสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐทั้งเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประชันเพลงบอกอีกหลายเวที ท่วงทำนองของเพลงบอกสุรินทร์ยังมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จากการศึกษาด้วยรูปแบบการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ดุริยางค์ไทย พบว่าทำนองเพลงบอกมีการใช้บันไดเสียงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือบันไดเสียงที บันไดเสียงฟา และบันไดเสียงซอลส่วนช่วงเสียงของเพลงบอกพบว่ามีการใช้เสียงต่ำสุดในกลุ่มบันไดเสียงทีคือเสียงซอลต่ำ และเสียงสูงสุดในบันไดเสียงซอล คือเสียงซอลสูง ด้านจังหวะพบว่ามีการใช้จังหวะปกติทั่วไปคือแบ่งออกเป็นจังหวะเบาและจังหวะหนัก กล่าวคือจังหวะตกหรือจังหวะหนักอยู่ในตำแหน่งตัวโน้ตที่ 2 และ 4 ของห้องเพลงส่วนจังหวะเบาหรือจังหวะยกอยู่ในตำแหน่งตัวโน้ตที่ 1 และ 3 ของห้องเพลงพื้นผิวในการขับร้องเพลงบอกพบว่ามีลักษณะการร้องแบบทำนองเดียวด้านการประสานพบจากการร้องประสานระหว่างแม่เพลงกับลูกคู่ ส่วนสังคีตลักษณ์ของเพลงบอกมีลักษณะเป็นเพลงทำนองเดียว
References
วิมล ดำศรี. (2540). วรรณกรรมมุขปาฐะเมืองนคร : การศึกษาวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ที พี พริ้น.
สงัด ภูเขาทอง. (2534). ประชุมบทความทางวิชาการดนตรี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
สุรินทร์ จันทร์ทอง. แม่เพลงบอก. (สัมภาษณ์, 2 - 10 มีนาคม 2559).
อุดม หนูทอง. (2551). ประวัติความเป็นมาของเพลงบอก. ใน เพลงบอกเยาวชน 51 การแข่งขันเพลงบอกเยาวชนชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.