ค่านิยมที่สะท้อนผ่านความหมายของชื่อเล่นของชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอายุระหว่าง 50-70 ปี ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ค่านิยม, ชื่อเล่นชาวไทยเชื้อสายจีน, อำเภอหาดใหญ่บทคัดย่อ
จากการศึกษาค่านิยมที่สะท้อนผ่านความหมายของชื่อเล่นของคนไทยเชื้อสายจีนที่มีอายุระหว่าง 50-70 ปี ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ คนไทยเชื้อสายจีน 100 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงที่สุด นั่นคือคนไทยที่มีเชื้อสายจีนและกำหนดช่วงอายุเป็นวัยผู้ใหญ่ระยะวัยผู้ใหญ่กลางคนถึงวัยสูงอายุตอนกลาง กล่าวคือ ระหว่างอายุ 50-70 ปี เพศชาย 50 คน และเพศหญิง 50 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการตั้งชื่อเล่นของคนไทยเชื้อสายจีน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยด้วยสถิติร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าชื่อเล่นของคนไทยเชื้อสายจีนที่มีอายุระหว่าง 50-70 ปี ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มี 14 กลุ่มความหมายตามลำดับ ดังนี้ 1) ความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ (ร้อยละ 20) 2) ความหมายเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ (ร้อยละ 16) 3) ความหมายเกี่ยวกับความมั่งคั่ง (ร้อยละ 14) 4) ไม่มีความหมาย (ร้อยละ 8) 5) ความหมายเกี่ยวกับความสุข ความรัก (ร้อยละ 6) 6) ความหมายเกี่ยวกับตัวอักษร ตัวเลข ลำดับที่ (ร้อยละ 6) 7) ความหมายเกี่ยวกับอาหาร (ร้อยละ 6) 8) ความหมายเกี่ยวกับความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง (ร้อยละ 4) 9) ความหมายเกี่ยวกับคนและวงศ์ตระกูล (ร้อยละ 4) 10) ความหมายเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ เทคโนโลยี (ร้อยละ 4) 11) ความหมายเกี่ยวกับสิ่งของ เครื่องใช้ ยานพาหนะ (ร้อยละ 4) 12) ชื่อเล่นที่เจ้าของชื่อไม่ทราบความหมาย (ร้อยละ 4) 13) ความหมายเกี่ยวกับเกียรติยศ ชื่อเสียง และอำนาจ พบน้อยที่สุด (ร้อยละ 2) และ 14) ความหมายเกี่ยวกับชื่อเฉพาะ (ร้อยละ 2)
References
คนพันธุ์ N. (2561). ‘ทัศนคติ’ ความหมายและความสำคัญ. ค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561. จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634487
จรัญวิไล จรูญโรจน์, ม.ล. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาษาและภาพสะท้อนของวัฒนธรรมจากชื่อเล่นของคนไทย. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นฤมล รัตน์อ่อน. (2554). ความหมาย ความเชื่อ และค่านิยม ที่สะท้อนจากการตั้งชื่อนักเรียน ตำบลช้างคล้อง จังหวัดเลย. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2535). ทุนสิงคโปร์ : การผูกขาดตลาดยางพาราและดีบุกไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วงค์เดือน ภาณุวัฒนากูล และสุรพงษ์ ยิ้มละมัย. (2553, มกราคม - มิถุนายน). อัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองหาดใหญ่. ว.ศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 2(1), 26-41.
วิยดา วรธนานันท์. (2557). บทวิทยุกระจายเสียง. ค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561. จาก http://www.stou.ac.th/study/sum rit/6-60/page1-6-60.html
ศิริกุล กิติธรากุล. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างความใกล้ชิดชุมชนกับการเลือกใช้ศัพท์ของชุทชนลาวครั่งที่บ้านหนองกระพี้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย สำเนียงงาม. (2545). ลักษณะภาษาที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและกาลกิณีในชื่อของคนไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2542). ค่านิยมการศึกษาของไทย. นครราชสีมา : รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัย.
อุษณีย์ โฉมฉายแสง. (2557). ค่านิยมที่ปรากฏในการตั้งชื่อ. ค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561. จาก http://www.stou.ac.th/study/sumrit/6-60/page1-6-60.html
Ma Guitong. (2554). ศึกษาอัตลักษณ์ชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกา ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ว.มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ. 6(1), 195-218.
RANSNUK. (2561). ชื่อ นามสกุลของคนไทยกับพัฒนาการของสังคมที่เปลี่ยนไป (ตอนที่ 2). ค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561. จาก https://www.ransnuk.com/view/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.