การปรับตัวในการจัดงานอีเวนต์เชิงวัฒนธรรม หลังสถานการณ์โรคระบาคโควิด-19 กรณีศึกษา: กิจกรรมงานรําลึกสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, โรคระบาคโควิด-19, อีเวนท์, ศิลปะการแสดง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นถึงการปรับตัวของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หลังจากสถานการณ์เกิดโรคระบาดโควิด-19 โดยกรณีศึกษา คือพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่เป็นเมืองมรดกโลก โดยมีทุนทางวัฒนธรรมเป็นตัวขับเคลื่อนกิจกรรมเป็นหลักใช้วิธีศึกษาข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ประกอบกับการลงพื้นที่สังเกต การดำเนินการจัดกิจกรรม พบว่ากิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้นหลังจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ภายใต้โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสนา โดยมีการจัดกิจกรรมย่อยคือการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมใช้ชื่อในการจัดกิจกรรมว่างานรำลึกพระนเรศวรมหาราช โดยมีการปรับเลื่อนการจัดกิจกรรมมาจำนวน 2 ครั้ง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 และได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไป เมื่อวันที่ 24 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ร่วม 5 วัน ใช้กลยุทธ์ในรูปแบบการจัดงานอีเวนต์เป็นรูปแบบหลักของการดำเนินงาน โดยมีกิจกรรมหลักภายในงานคือ มหรสพทางด้านศิลปะการแสดง นำเสนอผ่านรูปแบบ แสง สี เสียงสื่อผสม ดำเนินเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มหาวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรเทศกาลอาหารพื้นเมืองประกอบกับการเสวนาทางวิชาการ อีกทั้งมาตรการทางด้านการเฝ้าระวังโรคระบาดโควิด-19 ที่เข้มข้นโดยผู้เข้างานต้องแสดงผลการตรวจเชื้อโควิดภายใน 72 ชั่วโมง หรือแสดงใบยืนยันการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็มเป็นอย่างน้อยโดยมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารสุขเป็นผู้ร่วมดำเนินการ อีกทั้งการใช้ระบบฐานข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อป้องกันการแสดงข้อมูลที่ผิดพลาด อีกทั้งมีการปิดทางเข้าออกพื้นที่บริเวณงานอย่างรัดกุมประกอบกับการสุ่มตรวจ ATK ในพื้นที่บริเวณการจัดงานนับว่าเป็นการปรับตัวเชิงรุกอย่างเป็นรูปธรรมของการจัดกิจกรรมในบริบทปัจจุบัน

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2560). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ศิลปะวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จินตนา สายทองคำ. (2561). นาฏศิลป์ไทย รำ ระบำ ละคร โขน. กรุงเทพฯ: นุชาการพิมพ์.

พระสิทธิหเสนี และคณะ. (2562). มรดกโลกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ปัญหา อุปสรรค และกระบวนการจัดการของภาคีเครือข่ายในพื้นที่. วารสารมหาจุฬานครทรรศน์. 3(3). 1267-1280.

ภรภัทร กิตติมหาโชค. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับและเนื้อหาละครบุพเพสันนิวาสที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมตามกระแสนิยมไทยของผู้รับชม. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า. 5(2), 41-61.

วรรณพิมล อังคสิริสรรพ. (2554). มายาคติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.

วีรนุช ไตรรัตโนภาส และคณะ. (2564). แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 27(4), น. 132 - 144.

ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย และรุ่งเรือง ทองศรี. (2564). การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(8), 405-416.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อาจารี รุ่งเจริญ. (2557). การใช้เอกลักษณ์จากศิลปะการแสดงพื้นบ้านเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 16(1), 47-56.

IBISWorld. (2012). Trade show & event planning in the US: Market research report. Retrieved from http://www.ibisworld.com/industry/default.aspx?indid=1502&partnerid=ValuationResources.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30