การศึกษาคำเรียกผักในภาษาญี่ปุ่นตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ นิธิธนวิวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

คำเรียกผัก, อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์, การจัดประเภทแบบชาวบ้าน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำศัพท์ที่ใช้เรียกผักในภาษาญี่ปุ่นและกลวิธีการสร้างคำเรียกผัก ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการรวบรวมคำจากพจนานุกรมและเว็บไซต์ที่รีวิวอาหาร วิเคราะห์ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnosemantics) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Componential analysis) ทางความหมายและจัดประเภทแบบชาวบ้าน (Folk taxonomy) ผลการวิจัยพบว่า มีการคำเรียกผักต่างกันตามลักษณะคือ 1) สภาวะที่คงอยู่ 2) ส่วนต่าง ๆ ของผัก 3) การเตรียมผักเพื่อใช้ปรุงอาหาร 4) วิธีปรุงเป็นอาหาร 5) วิธีการนำมารับประทาน 6) วิธีถนอมอาหาร สำหรับการสร้างคำที่ใช้ในการเรียกผักพบว่ามีคำเรียกผักที่ไม่มีการสร้างคำโดยใช้คำขยาย และมีการสร้างคำใหม่โดยใช้คำขยาย และคำยืม คำเรียกผักนั้นสามารถสะท้อนให้เห็นโลกทัศน์และกระบวนการทางความคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตต่าง ๆ ของคนญี่ปุ่นได้

References

โคคุไซ นิฮอนโงะ เคนคิวชะ. (2548). 12 เดือนในญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : ภาษาและวัฒนธรรม.

ชุมพล ธีรลดานนท์. (2549). เดินบนวิถีญี่ปุ่นศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : รามาการพิมพ์.

พรรณพิไล นาคธน. (2543). หน้าต่างสู่โลกกว้างญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

มณฑา พิมพ์ทอง. (2543). ธรรมเนียมญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : โรงเรียนสมาคมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ยูชิดะ ทามาโอะ. (2538). รวมสำนวนญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สุธาทิพย์ รัฐปัตย์. (2558). การศึกษาคำเรียกพืชผักในภาษาเขมรมาตรฐานตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อิกาวา ทึซูโมโต และคณะ. (2541). กระจกส่องญี่ปุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สมาคมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น).

ฮิโรตะ ชิเอโกะ. (2553). สิ่งมงคลญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : แอทมี พรินติ้ง.

Berlin, B. & Kay, P. (1969). Basic Color terms: Their universality and evolution. Berkeley : University of California Press.

Frake, C. O. (1980). Language and Culture Description: Essays. Standford. Calif : Standford University Press.

Lehrer, A. (2009). Wine and Conversation. (2nd ed). New York : Oxford University Press.

Nida, Eugene A. (1979). Componential Analysis of Meaning : An Introduction to Semantic Structure. (2nd ed.). Paris : Mouton Publisher.

Ullmann, Stephen. (1977). Semantics An Introduction to the Science of Meaning. Oxford : Basil Blackwell.

今田慈子[Imada Shigeko] (1993)『発音』凡人社.

新村出[Shinmura Izuru] (1998)『広辞苑』第5版 岩波.

山川史郎[Yamakawa Shirō] (2011)『小学館の図鑑・植物』小学館.

田村佶[Tamura] (1997)『学研の図鑑・植物』学研.

松村明[Matsumura Akira] (1995)『大辞典』第2版 三省堂.

野菜ナビ[Yasai Nabi](n.d.) Retrieve from http://www.yasainavi.com/survey-2017-9/旬の食材百科[Shun No Shokuzai Hyakka] - FoodsLink.jp

フーズリンク(n.d.)Retrieve from http://foodslink.jp/syokuzaihyaka/index.htm/survey-2017-9/

厚労省[kōrō-shō](2012)日本人が一番食べる野菜は何か (n.d.)Retrieve from http://news.tbs.co.jp/newseye/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30