การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประชากร คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 จำนวนนักเรียน 6,424 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 381 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบชั้นภูมิ คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน และผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมการจัดการสนทนากลุ่มจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม คำถามการสนทนากลุ่ม แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบ แบบทดสอบวัดความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ แบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้เชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร องค์ประกอบที่ 2 ด้านทัศนคติเชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร องค์ประกอบที่ 3 ด้านการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร องค์ประกอบที่ 4 ด้านพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และตัวแปรสังเกตได้ 45 องค์ประกอบ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืน คือ ค่า p–value ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.06 ค่าสถิติไค-สแควร์ (X2) เท่ากับ 1841.690 ค่าองศาอิสระ df เท่ากับ 1042 ค่าวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.912 ดัชนีที่แสดงการยอมรับของโมเดล (Tucker Lewis index) เท่ากับ 0.905 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.045 และมีค่าดัชนีมาตรฐานของกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (SRMR) เท่ากับ 0.040 2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการแนวคิดของรูปแบบ จุดประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบและการวัดและประเมินผล แนวทางในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 3 การสังเกตการณ์และการสะท้อนผลการปฏิบัติการขั้นตอนที่ 4 การสรุปผล ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ท่าน มีความเห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนมีความรู้เชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนคติเชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เหตุผลเชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรือง. (2545). ผู้เรียนเป็นสำคัญและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2550). จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ปิยะนันท์ ภิรมย์ไกรภักดิ์. (2544). การส่งเสริมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2550, มกราคม - มิถุนายน). จริยธรรมไอซีที. วารสารไมโครคอมพิวเตอร์, 2(258), 1-2.
สถาบันรามจิตติ. (2557). สมุดข้อมูลรายตัวบ่งชี้รายจังหวัดรายงานสภาวการณ์เด็กไทย และเยาวชน ปี พ.ศ. 2557 – 2558. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการประเมินการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉริยาภรณ์ รักตลาด. (2563). โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. อุตรดิตถ์: โรงเรียนวัดคลองนาพง.
Joyce, B. & Beverly, S. (1982). The Coaching of Teaching. Educational Leadership. 40, 4-8.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2009). Models of Teaching. (8th ed.). New York: Allyn&Bacon.
Kant, I. (1972). The Right of Punishing and of Pardoning. In Freedom and Responsibility. California: Stanford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.