วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กับการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนา

ผู้แต่ง

  • เอกชัย ศรีรันดา คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรำไทย (ภาคเหนือ), การรำแบบคุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี, การแสดงพื้นบ้านล้านนา

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการอนุรักษ์ และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนาที่มีความเป็นแบบเฉพาะ ในความเป็นแบบฉบับของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ที่มีท่วงท่า ลีลา ตลอดจนกระบวนการรำที่ได้รับถ่ายทอดจากครูสมพันธ์ โชตนา นักแสดงในพระอุปถัมภ์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมีผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารชั้นต้น และเอกสารชั้นรอง ตำรา งานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษา พบว่า วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ได้มีการอนุรักษ์และพัฒนาด้านการแสดงอย่างต่อเนื่องแบ่งออกได้ 3 ช่วงคือ 1) การแสดงพื้นบ้านล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ที่ได้รับการถ่ายทอดในสายคุ้มหลวง คุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี 2) การแสดงพื้นบ้านล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ในแนวคิดสร้างสรรค์พัฒนาจากฟ้อนต้นแบบพระราชชายาเจ้าดารารัศมี 3) การแสดงพื้นบ้านล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สร้างสรรค์พัฒนาผลงานจากการศึกษางานวิจัยในระดับปริญญาตรีและการเสนอชุดการแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาคของระดับวิทยาลัยนาฏศิลป โดยการแสดงทั้งหมดได้ยึดตามหลักของความเป็นจารีตนาฏศิลป์ล้านนาแบบวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ที่ลักษณะเฉพาะในความอ่อนช้อย นุ่มนวล งดงาม การแสดงต่าง ๆ ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นสู่ศิษย์ในรุ่นปัจจุบัน

References

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. (2534). 20 ปีวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.เชียงใหม่: เชียงใหม่การพิมพ์.

รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์, (2549). รายงานวิจัยนาฏศิลป์ล้านนา กรณีศึกษาสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพันธ์ โชตนา. (2542). เอกสารประวัติความเป็นมาของคุณป้าสมพันธ์ โชตนา. เชียงใหม่: วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2549). นาฏศิลป์รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย ศรีรันดา. (2562). การถ่ายทอดท่ารำที่ได้รับถ่ายทอดในสายคุ้มหลวงคุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี โดยครูสมพันธ์ โชตนา. เชียงใหม่: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.

เอกชัย ศรีรันดา. (2546). แสดงพื้นบ้านล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ในแนวคิดสร้างสรรค์พัฒนาจากฟ้อนต้นแบบพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ชุดการแสดงฟ้อนนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่. เชียงใหม่: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.

เอกชัย ศรีรันดา. (2546). แสดงพื้นบ้านล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ในแนวคิดสร้างสรรค์พัฒนาจากฟ้อนต้นแบบพระราชชายาเจ้าดารารัศมีชุดการแสดงฟ้อนนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่. เชียงใหม่: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนา78ฏศิลปเชียงใหม่.

เอกชัย ศรีรันดา. (2562). การแสดงพื้นบ้านล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ในการสร้างสรรค์ พัฒนาผลงานจากการศึกษางานวิจัยในระดับปริญญาตรีและการเสนอชุดการแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ของระดับวิทยาลัยนาฏศิลป ชุดการแสดงฟ้อนฮอก. เชียงใหม่: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30