การสร้างแบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทยพื้นฐานสำหรับนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ทัศนี ทองสมบุญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทยพื้นฐาน, แบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทยพื้นฐานสำหรับนักศึกษาจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทยพื้นฐานสำหรับนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ข้อสอบเป็นชนิดแบบเลือกตอบ (Multiple Choice Item) จำนวน 80 ข้อ โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการวัดความรู้ภาษาไทยในเรื่องหลักภาษาและอักขรวิธีภาษาไทยพื้นฐานวงศัพท์ศัพท์ภาษาไทยพื้นฐาน และการสนทนาภาษาไทยพื้นฐานในชีวิตประจำวัน สำหรับนักศึกษาจีน สาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้เกณฑ์คุณภาพดังนี้ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ค่าความยาก (p) 0.20 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนก (r) = 0.20 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่น (KR20) 0.70 ขึ้นไป ผลการวิจัย พบว่า ข้อสอบมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC เท่ากับ 0.97 ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนแบบทดสอบ อยู่ในระดับปานกลางหรือค่อนข้างง่าย โดยมีคะแนนสูงสุด (MAX) เท่ากับ 78 คะแนน ค่าคะแนนต่ำสุด (MIN) เท่ากับ 31 คะแนน ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนแบบทดสอบ (x̅) เท่ากับ 59.70 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 13.01 ผลการวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบรายข้อในภาพรวม ค่าความยากของข้อสอบมีค่าตั้งแต่ 0.16 – 0.98 ส่วนค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบมีค่าตั้งแต่ 0.03 – 0.75 ซึ่งได้ข้อสอบที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 74 ข้อ จากทั้งหมด 80 ข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ 0.828, 0.810 และ 0.825 ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบข้างต้น อยู่ในระดับที่เหมาะสมสามารถนำแบบทดสอบไปใช้ได้

References

ทัศนี ทองสมบุญ. (2562). การสร้างแบบทดสอบวัดความรู้ภาษาไทยพื้นฐานสำหรับนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.

รุ่งฤดี แผลงศร. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องการกำหนดคำศัพท์ภาษาไทยพื้นฐานสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศระดับต้น. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Hu Yue และภาณุพงษ์ อุดมศิลป์. (2561, มกราคม – มิถุนายน). การศึกษาอักขรวิธีและทักษะเพื่อการสื่อสารเบื้องต้นในตำราเรียนภาษาไทยระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 12(1), 1.

Liao Yu Fu. (2010). ภาษาไทยพื้นฐาน 1. (基础泰语1) (พิมพ์ครั้งที่ 3). 广州:广东世界书.

Luo Yu Yuan. (2010). ภาษาไทยพื้นฐาน 2. (基础泰语 2) (พิมพ์ครั้งที่ 2). 广州:广东世界书.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30