วิสาหกิจชุมชนกับการตลาดยุคใหม่และสังคมดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พัฒน์กมล อ่อนสำลี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ธุรกิจชุมชน, การตลาดในยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

วิสาหกิจชุมชนเป็นกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพันกัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ วิสาหกิจชุมชนมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย และพึ่งพาตนเองได้ แต่ระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการประเมินยังคงอยู่ในระดับปานกลางมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบปัญหาของวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ เป็นปัญหาด้านการตลาด การเงิน และการบริหารจัดการ ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง และอยู่รอดต่อสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงควรเร่งพัฒนาและยกระดับวิสาหกิจชุมชนให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันเราอยู่ในยุคการตลาดยุคใหม่ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้เข้ากับโลกใบใหม่ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคสังคมดิจิทัลที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และการตัดสินใจของผู้บริโภค ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนควรปรับตัวโดยใช้แนวคิดการตลาดยุคใหม่ คือ ความต้องการของผู้บริโภค ความเหมาะสมในราคา ช่องทางและความสะดวกในการซื้อ และการสื่อสารและนำเสนอ ที่เป็นการเปลี่ยนมุมมองทางการตลาดไปให้ความสำคัญและขับเคลื่อนโดยลูกค้า และกลุ่มเป้าหมายซึ่งจะสามารถทำให้วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว และหากผู้ประกอบการไม่ปรับตัวให้เข้ากับสังคมดิจิทัลก็อาจทำให้วิสาหกิจชุมชนล้าหลังจนสูญเสียศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจในที่สุด

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2558). นโยบายดิจิทัลอิโคโนมี (Digital Economy). สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.dip.go.th/portals/0/puttipong/web%2520DIP/File/prass%2520release.doc+&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th.

โกสินทร์ ชำนาญพล และสุดาใจ โล่ห์วนิชชัย. (2562, พฤษภาคม - สิงหาคม). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ. วารสารราชพฤกษ์. 17(2), 130-138.

ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์. (2562). แนวคิดการตลาดยุคใหม่ต้อง “โมเดิร์น มาร์เก็ตติง”. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.posttoday.com/economy/news/603766.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. (2548). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก, 1-13.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจากภาครัฐ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง. (2562). การยกระดับผลิตภัณฑ์โอทอปน้าพริกพ่ออนงค์โดยใช้แนวคิดทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (4C’s). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

เสน่ห์ ศรีสุวรรณ. (2560). 4P หลบไป การตลาดยุคใหม่ต้อง “P2C”. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563.จาก https://columnist.smartsme.co.th/smartsme-sanae/2176.

อาทิตย์ สุจเสน และนิตยา ทัดเทียม. (2559). การจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

อาภาภัทร บุญรอด. (2560). เข้าใจพฤติกรรม Connected Consumers ชาวไทยในยุคสังคมดิจิทัล. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641241.

อาภาภัทร บุญรอด.(2562). การตลาดยุคใหม่ และสังคมดิจิตัล. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/64723

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30