การนำเสนอเนื้อหาข่าวเกี่ยวกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ในหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน

ผู้แต่ง

  • ภัทรเวช ฟุ้งเฟื่อง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

สาธารณรัฐสิงคโปร์, การนำเสนอข่าว, ทิศทางการนำเสนอ, หนังสือพิมพ์ไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การนำเสนอเนื้อหาข่าวเกี่ยวกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ในหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาข่าวที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐสิงคโปร์ทั้งในด้านปริมาณ รูปแบบการนำเสนอข่าว รวมถึงทิศทางของข่าวที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยพบว่าการศึกษาเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ในวงการนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ยังมีปริมาณที่ค่อนข้างจำกัด โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) มาวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 4 ชื่อฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์มติชน และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 พฤศจิกายน 2561 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหมุนเวียน (Rotated sampling)ได้ชิ้นข่าวจำนวน 189 ชิ้น โดยมีตารางลงรหัสข้อมูลเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจมีปริมาณการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐสิงคโปร์มากที่สุด รองลงมาคือหนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดยปรากฏเนื้อหาข่าวด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ เศรษฐกิจภายในประเทศ และการเมืองภายในประเทศใน 3 อันดับแรก และไม่ปรากฏเนื้อหาข่าวด้านการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศและภัยธรรมชาติในหนังสือพิมพ์ทุกชื่อฉบับ ด้านทิศทางของข่าวที่ถูกนำเสนอพบว่า หนังสือพิมพ์ไทยรายวันนำเสนอทิศทางที่ค่อนข้างไปในทางบวกมากกว่าทิศทางเป็นกลางและทิศทางลบ โดยเมื่อพิจารณาตามชื่อฉบับพบว่า หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและหนังสือพิมพ์มติชนมีทิศทางการนำเสนอข่าวทางบวกมากกว่าทิศทางเป็นกลางและทิศทางลบ ส่วนเนื้อหาที่ถูกนำเสนอในทิศทางบวกมากที่สุด 3 อันดับแรกเป็นเนื้อหาด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ ความร่วมมือระหว่างประเทศและการเมืองภายในประเทศ และเนื้อหาที่ถูกนำเสนอทางลบมากที่สุด 3 อันดับแรกเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับข่าวการเมืองภายในประเทศ และทั่วไปที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อหาด้านหลัก รวมถึงข่าวด้านความมั่นคง

References

กุลวี พิโรจน์รัตน์. (2545). การเปิดรับการสื่อสารที่มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าอาหารแปรรูปไทยในกลุ่มผู้บริโภคสิงคโปร์. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

เกศราพร ทองพุ่มพฤกษา. (2558). รายงานการวิจัยเรื่อง การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศไทยที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์สิงคโปร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฏฐิกา ณ ระนอง. (2548). การนำเสนอข่าวประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนทางหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

นพรัตน์ ปทุมรังสี. (2541). การวิเคราะห์เนื้อหาเรื่องเอดส์ ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของประเทศไทยและสิงคโปร์. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ชรี สุมิตร. (2557). ประวัติศาสตร์สิงคโปร์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ภูดิท ไชยลังกา. (2560). การสื่อสารในระบบโรงเรียนของประเทศสิงคโปร์เพื่อเตรียมความพร้อมทรัพยากรมนุษย์สู่ตลาดงาน. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

มาลี บุญศิริพันธ์. (2556). วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุจน์ โกมลบุตร. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: ศึกษากรณี หนังสือพิมพ์ “ประชาชน”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมิตรา นคินทร์บดี. (2529). การศึกษาเปรียบเทียบการกำหนดนโยบายด้านข่าวโทรทัศน์ในไทย สิงคโปร์และมาเลเซีย. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

อนัญญา กรรณสูต. (2556). การรับรู้ทางประสาทสัมผัสที่มีต่อร้านอาหารไทยในประเทศสิงคโปร์กับความภักดีต่อตราสินค้าและภาพลักษณ์ของประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Baran, S. J., & Davis, D. K. (2012). Mass Communication Theory: Foundations, ferment, and Future. Belmont: Wadsworth.

Dearing, J., W. (1996). Agenda-Setting. CA: Thousand Oaks.

Freeman, B. C. (2010). Through a Western Lens: Partrayals of a ‘Rising’ ASEAN and its member Countries in The New York Times. The International Communication Gazette, 72(3), 269-285.

Stevenson, R. L., & Shaw, D. L. (1984). Foreign News and the New World Information Order. Iowa: Iowa Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30