เพลงอีแซวรุ่นเก่า: การใช้คำอุทานเสริมอรรถรสในบทปฏิพากย์

ผู้แต่ง

  • สมบัติ สมศรีพลอย สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุภัทรา จันทะคัด สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วาสิฏฐี สุวรรณพาณิชย์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

เพลงอีแซวรุ่นเก่า, คำอุทาน, บทปฏิพากย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้คำอุทานในการร้องเพลงอีแซวรุ่นเก่า ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เสริมอรรถรสในบทเพลงปฏิพากย์ที่พ่อเพลงแม่เพลงรุ่นเก่าใช้ร้องเล่นหรือแสดงในอดีต กลุ่มข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์คือวิดีทัศน์ การแสดง “เพลงอีแซว” ในเว็บไซต์ยูทูป ของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ผลการวิเคราะห์พบว่า การใช้คำอุทานในการแสดงเพลงอีแซวรุ่นเก่าปรากฏทั้งหมด 11 คำ ได้แก่ ทุด, เอ้ย, อ้อ หรือ อ๋อ, พิโธ่ (พุทโธ่), เฮ้ย, ชะชะ, เอ๊ะ, แหม, หนอยหน็อย (หน็อยแน่) เอ๋ย และแน่ะ คำอุทานที่ปรากฏมักแสดงอารมณ์ของความไม่พอใจ ดูถูก ฉุนเฉียว ไม่ยอมแพ้ การข่มคู่ต่อสู้ มีส่วนน้อยที่ใช้เพื่อแสดงความแปลกใจ และการเรียกด้วยความเอ็นดู การใช้คำอุทานเสริมอรรถรสดังกล่าวนับเป็นเสน่ห์ของเพลงอีแซวในอดีตที่สอดคล้องกับค่านิยม ขนบการแสดง และบริบทสังคมยุคนั้น

References

เกลียว เสร็จกิจ (ขวัญจิต ศรีประจันต์). แม่เพลงอีแซว ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2539, (23 กุมภาพันธ์ 2565). สัมภาษณ์.

บัวผัน สุพรรณยศ. (2548). “เพศศึกษาในเพลงพื้นบ้าน” ใน ภาษาส่องสังคม วรรณคดีส่องชีวิต: หนังสือรวมบทความจากการประชุมวิชาการ 12–13 พฤษภาคม ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และคณะ. (2552). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคำ วลี ประโยค และสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (2563). รายการแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ธนาคารกรุงเทพ ครั้งที่ 833 เพลงอีแซว คณะแม่บัวผัน จันทร์ศรี. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=CmW0aH6jnYs&t=2181s

สุกัญญา ภัทราชัย. (2540). เพลงปฏิพากย์: บทเพลงแห่งปฏิภาณของชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย. (2564). มหกรรมพื้นบ้าน ตำนานสุโขทัยเพลงอีแซว คณะแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เพลงฉ่อยพ่อสุชิน ทวีเขตต์. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=VidenxQ_rwE

เอนก นาวิกมูล. (2550). เพลงนอกศตวรรษ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มติชน.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2544). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Subanwatin สุบรรณวาทิน. (2563). เพลงอีแซว พ่อเพลงแม่เพลง สุพรรณ อ่างทอง. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=V4GtVvsUvLQ&t=808s

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30