การสร้างสรรค์การแสดงชุด เริงฤดียักษิณีเท่งตุ๊ก
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์, เท่งตุ๊ก, นางกะแหร่งบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และลีลาการแสดงตัวละครนางกะแหร่ง ประเภทนางยักษ์ ในละครเท่งตุ๊ก คณะจักรวาลมงคลศิลป์ จังหวัดจันทบุรี และเพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุด เริงฤดียักษิณีเท่งตุ๊ก โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้อันนำไปสู่ผลของการวิจัยและสร้างสรรค์ ดังนี้ เท่งตุ๊กเป็นการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรี ในอำเภอท่าใหม่มีเพียงคณะเดียว คือ คณะจักรวาลมงคลศิลป์ และจากการศึกษาบทบาทนางกะแหร่ง พบว่า นางกะแหร่ง ประเภทนางยักษ์ เป็นตัวละครสำคัญในการดำเนินเรื่อง โดยตัวละครที่นิยมแสดง ได้แก่ นางยักษ์ผีเสื้อสมุทร นางยักษ์กระตุกอืด นางยักษ์กาขาว นางยักษ์อสุรินทนารี นางยักษ์ผาวิก และนางยักษ์ผีเสื้อน้ำการสร้างสรรค์การแสดงชุด เริงฤดียักษิณีเท่งตุ๊ก ได้รับแรงบันดาลใจจากบทบาทและลีลาท่ารำของนางกะแหร่ง ประเภทนางยักษ์ โดยการสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการแสดง 2) กระบวนท่ารำ3) ผู้แสดงต้องมีทักษะทางนาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างดี 4) การแต่งกายยืนเครื่อง 5) การแต่งหน้า 6) อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง และ 7) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ซึ่งการสร้างสรรค์การแสดงชุด เริงฤดียักษิณีเท่งตุ๊กนี้ ยังถือเป็นการสืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรี ในรูปแบบของการสร้างสรรค์การแสดงที่ต่อยอดจากรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
References
จินตนา สายทองคำ. (2558). นาฏศิลป์ไทย รำ ระบำ ละคร โขน. เจ ปริ้นท์.
ณัฐภา นาฏยนาวิน. (2558). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชุดทาส. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ดาริณี ชํานาญหมอ. (2557). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อผู้หญิงกับยุติความรุนแรง. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
นันท์ทยา ลำดวน. (2531). วรรณคดีการละคร. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2543). การใช้สีในการสร้างสารเพื่องานประชาสัมพันธ์. วารสารสุทธิปริทัศน์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 14(43), 64 - 84.
มาลินี แทนบุญ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). เครื่องแต่งกายนางยักษ์กระตุกอืด. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
มาลินี แทนบุญ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). เครื่องแต่งกายนางยักษ์กาขาว. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
มาลินี แทนบุญ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). เครื่องแต่งกายนางยักษ์ผาวิก. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
มาลินี แทนบุญ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). เครื่องแต่งกายนางยักษ์ผีเสื้อน้ำ. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
มาลินี แทนบุญ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). เครื่องแต่งกายนางยักษ์ผีเสื้อสมุทร. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
มาลินี แทนบุญ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). เครื่องแต่งกายนางยักษ์อสุรินทนารี. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สมชาย วาสุกรี. (2546). การศึกษาวัฒนธรรมดนตรีของละครเท่งตุ๊ก คณะ ส.บัวน้อย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
สมถวิล วิเศษสมบัติ. (2525). วรรณคดีการละคร. อักษรบัณฑิต.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรวาล มงคลสุข. (ผู้ก่อตั้งคณะจักรวาลมงคลศิลป์). สัมภาษณ์, 8 สิงหาคม 2563.
จีรประทีป ทองเปรม. (ประธานศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแหลมสิงห์). สัมภาษณ์, 8 สิงหาคม 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.