การบริหารจัดการเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบ้านพักผู้สูงอายุ คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ สามพราน
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, คุณภาพชีวิต, บ้านพักผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ บ้านพักผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิต ความสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารจัดการเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบ้านพักผู้สูงอายุคามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ สามพราน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองบ้านพัก 1 คน และบุคลากรของบ้านพัก 6 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาการบริหารจัดการเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านร่างกาย พบว่า มีการบริหารจัดการโดยจัดให้มีกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพแบบมืออาชีพ โดยการบริหารแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีการสื่อสารกับญาติ กับกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพหรือสถาบันสุขภาพภายนอกอย่างต่อเนื่อง ด้านจิตใจ พบว่า มีการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุผ่อนคลาย ดูแลผู้สูงอายุอย่างอบอุ่น ให้คุณค่าความสำคัญกับผู้สูงอายุในเรื่องต่าง ๆ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่า ผู้สูงอายุต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตในบ้านพักที่มีกฎระเบียบและต้องปรับตัวให้เข้ากับลักษณะนิสัยของเพื่อน มีการจัดกิจกรรมประจำวันร่วมกันการจัดกิจกรรมนันทนาการอย่างต่อเนื่อง และด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า มีการจัดห้องให้มีแสงสว่างเพียงพอ จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบมีราวจับโดยรอบเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรนำแนวคิดการบริหารจัดการในเรื่องกำลังคน การเงิน การบริหารสินทรัพย์ และกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในบ้านพักผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนต่อไป
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 20 เมษายน 2564. https://www.dop.go.th/th/know/15/926
กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. (2563). 93 วันสู่สังคม”คนชรา” 5 จังหวัด? คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. สืบค้น 22 เมษายน 2564. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453
กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. (2564). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย. สืบค้น 22 เมษายน 2564. https://dmh.go.th/test/whoqol/
เจษฎา บุญทา. (2545). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2566). การสร้างสรรค์นาฏกรรมบำบัดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 17(1), 43 - 66.
ธีรยุทธ นัมคณิสรณ์. (2564). ระบบการจัดการที่อยู่อาศัยเพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของผู้สูงอายุในชุมชนที่เป็นมิตร: กรณีศึกษา คามิลเลียนโซเชียล เซ็นเตอร์ ในเขตชุมชนอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 38(4), 447 – 456.
บรรลุ ศิริพานิช. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
มูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย. (2564). บัานพักผู้สูงอายุ. สืบค้น 20 เมษายน 2564. https://www.camillianthailand.org/about-organization.html?id=4
วิทมา ธรรมเจริญ. (2555). อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์].
ศันสนีย์ มโนสุจริต (2525). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: ศึกษากรณีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา].
อารดา ธีระเกียรติกำจร. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. Veridian E-Journal Silpakron University, 4(3), 1 – 19.
อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว, อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข ความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences. 7(2), 76-95.
Campos, A. C., Ferreira e Ferreira, E., Vargas, A. M., & Albala, C. (2014). Aging, Gender and Quality of Life (AGEQOL) study: factors associated with good quality of life in older Brazilian community-dwelling adults. Retrieved April 21, 2022. https://link.springer.com/article/10.1186/s12955-014-0166-4
Drucker, P. F. (1973). Management: Tasks, Responsibilities, Practices. Harper & Row Publication.
Ju, Y.J., Han, KT., Lee, TH., Kim, W, Kim, J., & Park, EC. (2016). Does relationship satisfaction and financial aid from offspring influence the quality of life of older parents?: a longitudinal study based on findings from the Korean longitudinal study of aging, 2006–2012. Health Qual Life Outcomes, 14(108), 1 – 8. https://doi.org/10.1186/s12955-016-0509-4
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.