“สุขสันต์วันตาย” ความไม่สุภาพในข้อความแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์วันคล้ายวันเกิดทางเฟซบุ๊ก

ผู้แต่ง

  • นภัทร อังกูรสินธนา สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ความไม่สุภาพ, เฟซบุ๊ก, การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนวนความไม่สุภาพในข้อความแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์วันคล้ายวันเกิดทางเฟซบุ๊ก โดยเก็บข้อมูลจากข้อความคิดเห็นหรือคอมเมนต์สาธารณะในข่าววันคล้ายวันเกิดของบุคคลผู้มีชื่อเสียงที่เผยแพร่ทางเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ช่องวัน ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 1,220 ข้อความ ผลการวิจัย พบชนวนความไม่สุภาพ 2 ประเภท คือชนวนความไม่สุภาพตามขนบและชนวนความไม่สุภาพที่ไม่เป็นไปตามขนบหรือชนวนความไม่สุภาพความหมายชี้บ่งเป็นนัย โดยชนวนความไม่สุภาพตามขนบนั้นปรากฏการใช้ชนวนความไม่สุภาพ 6 ประเภท ได้แก่ การสบประมาท การวิพากษ์วิจารณ์หรือการตำหนิอย่างตรงประเด็น การใช้รูปประโยคคำถามที่ทำให้กระดากอายหรือเกิดความหมายมูลบท การกล่าวถ้อยคำที่ทำให้ลดตนลงมา การกล่าวถ้อยคำขับไล่ และการกล่าวถ้อยคำแสดงความรู้สึกเชิงลบ ส่วนชนวนความไม่สุภาพที่ไม่เป็นไปตามขนบหรือชนวนความไม่สุภาพความหมายชี้บ่งเป็นนัยนั้นปรากฏการใช้ชนวนความไม่สุภาพ 3 ประเภท ได้แก่ การใช้ความสุภาพตามขนบเป็นชนวนความไม่สุภาพ การใช้ความเป็นนัยสนทนาเป็นชนวนความไม่สุภาพและการใช้บริบทเป็นชนวนความไม่สุภาพ นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าผู้แสดงความคิดเห็นเลือกใช้ชนวนความไม่สุภาพที่ไม่เป็นไปตามขนบหรือชนวนความไม่สุภาพความหมายชี้บ่งเป็นนัยมากกว่าชนวนความไม่สุภาพตามขนบ

References

Angkunsinthana, N. (2018). Impoliteness Strategies in Thai. [Doctoral dissertation, Kasetsart University]. [In Thai]

Brown, P. & Levinson, S. C. (1987). Politeness: some universals in language usage. Cambridge University Press.

Bunnag, O. (2016). Impoliteness Strategies for Interviewing Celebrities by Alternative Television Channel Hosts. Chophayom Journal, 27(2), 13-23.

Culpeper, J. (1996). Towards an anatomy of impoliteness. Journal of Pragmatics. 25, 349- 367.

Culpeper, J. (2011). Impoliteness: using language to cause offence. Cambridge University Press.

Culpeper, J. (2016). Impoliteness strategies. In A. Capone & L. Jacob (Eds.). Interdisciplinary studies in pragmatics, culture and society (pp. 421- 445). Springer.

Culpeper, J., Bousfield, D. & Wichmann, A. (2003). Impoliteness revised: with special reference to dynamic and prosodic aspects. Journal of Pragmatics. 35, 1545-1579.

Burapha University. Faculty of Information. (2022). Moving Forward in Digital Society with ICT. Retrieved May 10, 2022. https://www.informatics.buu.ac.th. [In Thai]

Graham, S. L. & Hardaker, C. (2017). (Im) politeness in Digital Communication. In J. Culpeper, M. Haugh & D. Z. Kádár (Eds.). The Palgrave Handbook of Linguistic (Im) Politeness (pp. 785- 809). Palgrave Macmillan.

Kaewjungate, W. & Rattanadilok Na Phuket, W. (2018). Impoliteness Strategies on The Face Thailand TV Program. Journal of the Faculty of Arts Silpakorn University, 40(2), 177-201. [In Thai]

Likhit, W. (2018). Khamda Bap Thai Thai Tham Mai Tong Phat Phing Thueng Ma. Retrieved June 20, 2018. https://voicetv.co.th/read/ByKXfRRmX. [In Thai]

Natpratan, N. (2015). Private Verbs and Public Verbs in Thai Legal Language Political Language Media Language and Academic Language. Humanities Journal Naresuan University, 12(3), 107-126. [In Thai]

Panpothong, N. (2010). Pragmatic Analysis of Thai. Chulalongkorn University. [In Thai]

Pukbhasuk, P. (2016). Mongkhon Laklai Nai Kham Hai Pon Wan Koet. Thai Language and Literature, 21, 86-96. [In Thai]

Rabab’ah, G. & Alali, N. (2020). Impoliteness in reader comments on the Al-Jazeera chanel news website. Journal of Politeness Research, 16(1), 1-43.

Sawanglap, J. (2013). Impoliteness Strategies in Thai Reality Shows. [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. [In Thai]

Srinarawat, D. (2001). Indirectness as a Communicative Strategy of Thai Speakers. Journal of Liberal Arts Thammasat University, 1, 85-101. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-05