นาฏยประดิษฐ์ ชุด พระลักษมณ์ตัดศอสีดา

ผู้แต่ง

  • ธนกร สุวรรณอำภา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

โขน, พระลักษมณ์ตัดศอสีดา, สร้างสรรค์ผลงาน

บทคัดย่อ

นาฏยประดิษฐ์ ชุด พระลักษณ์ตัดศอสีดา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดงชุดพระลักษมณ์ตัดศอสีดา เป็นการสร้างสรรค์เชิงคุณภาพ โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร งานวิจัย จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ไทยและดนตรีไทย นำมาสู่กรอบแนวคิดและการสร้างสรรค์ผลงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวิพากย์จากผู้ทรงคุณวุฒิและเสนอผลการวิจัยสร้างสรรค์แบบพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษานำมาสู่การกำหนดแนวทางการสร้างสรรค์ได้ว่า แนวคิดการสร้างสรรค์การแสดงชุดพระลักษมณ์ตัดศอสีดา เป็นการนำเสนอการผสมผสานกระบวนท่าการร่ายรำของพระลักษมณ์ในการประหารนางสีดาด้วยวิธีการตัดคอ ตามบัญชาของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ โดยออกแบบโครงสร้างแนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำจากกระบวนท่ารำแม่ไม้ของกระบี่กระบอง กระบวนท่าที่ใช้ในการประหารชีวิตด้วยการตัดคอและกระบวนท่ารำตามแบบแผนการรำนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ เพลงแม่บทใหญ่ เพลงช้า-เร็ว เพลงเชิดฉิ่ง การรำตีบทตามคำร้อง การใช้อาวุธ ซึ่งกำหนดให้มีกระบวนท่ารำจำนวน 166 ท่า ใช้ผู้แสดงที่มีทักษะฝีมือการรำโขนพระจำนวน 1 คน ละครนางจำนวน 1 คน ผู้แสดงต้องมีทักษะในการถ่ายทอดอารมณ์และสามารถสื่อแสดงบุคลิกลักษณะอิริยาบถความสง่างามของตัวละครได้อย่างชัดเจน รูปแบบการแสดงดำเนินตามแนวทางการแสดงโขนโรงใน แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงที่ 1 พระลักษมณ์นำนางสีดาสู่ลานประหาร ช่วงที่ 2 ขั้นตอนการประหารชีวิตนางสีดาด้วยการตัดศอ ช่วงที่ 3 พิสูจน์คำอธิษฐานสัจจะ นางสีดาพ้นมลทิน พระลักษมณ์ทราบความจริง บทที่ใช้แสดงดำเนินตามบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในรัชกาลที่ 1 นำมาจัดทำบทในลักษณะเป็นกลอนบทละคร โดยบรรจุเพลงตามความหมายของเพลงเพื่อให้สอดคล้องกับบทวรรณกรรม มีการใส่บทพากย์เจรจาตามรูปแบบการแสดงโขน วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง คือ วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เอกลักษณ์เฉพาะในการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงครั้งนี้ คือมีการเดี่ยวปี่ใน ในขั้นตอนของการประหาร เพื่อให้เกิดความรู้สึกคล้ายกับวิธีการประหารจริงสมัยโบราณ ลักษณะการแต่งกายพระลักษมณ์แต่งกายแบบยืนเครื่องพระสีเหลืองขลิบม่วง ศีรษะสวมชฎา สำหรับนางสีดาแต่งกายยืนเครื่องนางสีแดงขลิบเขียว ศีรษะสวมมงกุฎนาง อุปกรณ์การแสดงเฉพาะที่เพิ่มเติมคือ พระลักษณ์ใช้อาวุธพระขรรค์ นางสีดาคล้องพวงมาลัยใต้กรองคอหรือนวมนาง

References

กรมศิลปากร. (2556). โขน อัจฉริยภาพนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักการสังคีต.

กัญชพร ตันทอง. (2557). นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากคลื่นพายุซัดฝั่ง. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

จุติกา โกศลเหมมณี. (2556). รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2508). ตำนานละครเรื่องอิเหนา. พระนคร: คลังวิทยา.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). กรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยประดิษฐ์ชุด พระลักษมณ์ตัดศอสีดา. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). กระบี่ทัดหูกระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). เชิงเทียนกระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). ท่าพระลักษมณ์แสดงเพลงเชิดฉิ่ง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). เปรียบเทียบกระบี่กระบองท่าปฐม. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). พรหมนั่งกระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). ย่างสามขุมกระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). ลดล่อกระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). สอยดาวกระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขนวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ธนกร สุวรรณอำภา. (2561). เหน็บกระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยโขน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ปิยวดี มากพา. (2547). เชิดฉิ่ง: การรำชุดมาตรฐานตัวพระในละครใน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วรากร เพ็ญศรีนุกูร. (2556). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงความเชื่อหลังความตายของครูโนรา. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2540). การวิเคราะห์คุณลักษณะไทย คุณค่า และกระบวนการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย: กระบี่กระบอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณี ชูเสน. (2549). รูปแบบจังหวะฉิ่งในดนตรีไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30