ชงโคบาน: บทประพันธ์เพลงที่มีแนวคิดจากดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ชงโคบาน บทประพันธ์เพลง ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย เพลงสมัยนิยมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประพันธ์บทเพลงแบบสมัยนิยมที่สื่อความหมายของดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) สร้างสรรค์แนวคิดด้านการประพันธ์เพลงสมัยนิยม และเพลงมหาวิทยาลัยเพื่อเผยแพร่บทเพลงที่เข้าถึงผู้ฟังยุคใหม่ โดยแบ่งขั้นตอนดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การประพันธ์ทำนอง คำร้อง และเรียบเรียงเสียงประสาน 2) การวิเคราะห์ข้อมูลและอรรถาธิบาย ผลการศึกษาพบว่า 1) การประพันธ์ทำนองและคำร้อง การพัฒนาทำนองแบบวลีสั้น ๆ กำหนดวรรคเพลง ช่วงเสียง ทิศทางการเคลื่อนที่ให้เหมาะสมกับการขับร้อง และการสร้างจุดเด่นเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้ทำนองแต่ละท่อน การประพันธ์คำร้องเป็นแบบร้อยกรอง คล้องจองสละสลวย มีความหมายสื่ออารมณ์เพลงแต่ละท่อนได้ชัดเจน 2) ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน การสร้างท่อนนำ ท่อนเชื่อม การวางคอร์ด การสร้างพื้นหลังและกำหนดสีสันเครื่องดนตรีให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับทำนองและเนื้อหาของเพลง รวมถึงการผสมผสานรูปแบบดนตรีที่ทันต่อยุคสมัยทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ฟังยุคใหม่ได้ง่าย ก่อให้เกิดแนวทางใหม่ในการประพันธ์บทเพลงมหาวิทยาลัย
References
เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์. (2545). คิดคำทำเพลง: ศิลปะการแต่งเนื้อเพลงไทย. ฟ้าอภัย.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์ทำนองในท่อน C. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์คำร้องในท่อน C. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์ทำนองในท่อน A1-A2. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์คำร้องในท่อน A1-A2. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์คำร้องในท่อน A3. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์ทำนองในท่อน B. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์คำร้องในท่อน B. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์คำร้องและทำนองในท่อน Intro และ Verse. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การใช้ฟลิป (Flip) ในท่อน Chorus. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การประพันธ์คำร้องและทำนองในช่วงท้ายท่อน Chorus. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การวางคอร์ดในท่อนนำ. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การใช้คอร์ดดิมมินิช (Diminished) ในท่อน C. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การสร้างพื้นหลังที่เป็นทำนองในท่อน C. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การสร้างพื้นหลังที่เป็นเสียงประสานในท่อนนำ. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน. (2565). การสร้างพื้นหลังที่เป็นเสียงประสานในท่อน A. ภาควิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ชัยวัฒน์ หอวรรณภากร. (2544). การสื่อความหมายและอุดมการณ์ในเพลงมหาวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ปิยพันธ์ แสนทวีสุข (2546). การประพันธ์เพลง. ประสานการพิมพ์.
สมชาย รัศมี. (2559). การเรียบเรียงเพลงสมัยนิยม. สหธรรมมิก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.