นาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุดฉุยฉายขุนแผนแสนสะท้าน
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์นาฏศิลป์, การออกแบบท่ารำฉุยฉายใหม่บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์นาฏศิลป์เรื่อง “นาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุดฉุยฉายขุนแผนแสนสะท้าน” มีวัตถุประสงค์คือใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณา 1) เพื่อศึกษาประวัติของตัวละครขุนแผน ซึ่งเป็นพระเอก ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน 2) เพื่อศึกษาประวัติ ของการรำฉุยฉาย และออกแบบสร้างสรรค์ชุดรำขึ้นใหม่ในชุดฉุยฉายขุนแผนแสนสะท้าน ผลการวิจัยพบว่า 1) เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเรื่องราวของขุนแผน ซึ่งเป็นนายทหารที่จงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ เมื่อแต่งงานแล้วได้ถูกใช้ให้นำทัพไปรบเมืองเชียงทอง ขุนช้างได้ทำอุบายแย่งชิงนางวันทองไป ขุนแผนกลับมาจึงขี่ม้าสีหมอกไปยังเรือนขุนช้างเพื่อลักพานางวันทองกลับคืน นับว่าเป็นเรื่องราวที่สนุกสนาน และได้เล่าสืบทอดต่อมาในรูปการขับเสภาจนถึงนำไปแสดงเป็นละคร 2) ประวัติของการรำฉุยฉาย พบว่าเดิมเป็นเพลงร้องเล่นของชนชาวบ้านสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีผู้นำมาร้องเล่นในราชสำนัก หลังจากขับเสภาจบแล้ว ทำให้เห็นว่าเพลงฉุยฉายเป็นเพลงสำหรับความสุขใจ ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงนำมาใส่ไว้ในการแสดงเบิกโรงละครผู้หญิง และในสมัยต่อมาได้รับความนิยมนำมาแทรกไว้ในโขนละครเพื่อแสดงถึงความสุขใจ เมื่อตัวละครแปลงกาย หรือแต่งกายได้อย่างสวยงาม จากเหตุผลนี้จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้วิจัยออกแบบท่ารำฉุยฉายขึ้นมาใหม่ คือชุด “ฉุยฉายขุนแผนแสนสะท้าน” โดยออกลีลาท่ารำผสมท่าทางที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ และได้ปรับเปลี่ยน จากการรำฉุยฉายดั้งเดิมมาเป็นการเล่าประวัติของขุนแผน ซึ่งประสบทั้งความสุขความทุกข์ นอกจากนั้นยังเป็นการรำคู่ระหว่างคน (ขุนแผน) กับม้า (ม้าสีหมอก) ผลการวิจัยได้นำออกแสดงให้ประชาชนชมและได้รับการยอมรับว่าเป็นนาฏศิลป์ที่สวยงามเหมาะแก่การอนุรักษ์
References
กรมศิลปากร. (2513). ขุนช้างขุนแผนฉบับหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2555). บทเบิกโรง. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2512). เงาะป่า. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
ชัย ว่องกสิกรณ์. (2556). วิเคราะห์บทเบิกโรง พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ. [วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์].
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2562). กระบวนท่ารำที่สัมพันธ์กัน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ (2562). ขุนแผนกับม้าสีหมอก. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2562). เครื่องแต่งกายขุนแผน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2562). เครื่องแต่งกายม้าสีหมอก. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2562). ท่ารำที่สร้างสรรค์ขึ้นจากท่าธรรมชาติ “ท่าเสยผม”. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2562). อุปกรณ์การแสดง “ดาบฟ้าฟื้น”. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2556). วิเคราะห์กระบวนท่ารำฉุยฉายฮเนา ตามรูปแบบละครวังสวนกุหลาบ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2562). เครื่องแต่งกายขุนนางผู้ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 4. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2562. https://www.nat.go.th/คลังความรู้/คลังภาพทรงคุณค่า
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2562). เครื่องแต่งกายผู้ชายไทยสมัยรัชกาลที่ 5. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2562. https://www.nat.go.th/คลังความรู้/คลังภาพทรงคุณค่า
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวณิต วิงวอน. (2536). หัวเลี้ยวของนาฏยวรรณกรรมแบบขนบนิยม. กรุงเทพฯ: แสงแดด.
สวภา เวชสุรักษ์. (2547). หลักนาฏยประดิษฐ์ของท่านผู้หญิงแผ้วสนิทวงศ์เสนี. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.