การศึกษานาฏศิลป์เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่น: กรณีศึกษาฟ้อนดาบและวิถีชุมชนของชาวไทใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์, วิถีชุมชน, ไทใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงชุด ฟ้อนดาบ และวิถีชุมชนกับบริบททางสังคมของชาวไทใหญ่ ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ จำนวน 1 คน, ปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 1 ท่าน, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ท้องถิ่น จำนวน 1 ท่าน, ผู้สืบทอดฟ้อนดาบ จำนวน 1 ท่าน, ผู้ประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชนขุนยวม จำนวน 1 ท่าน และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1 ท่าน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง และมีลักษณะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดง ชุด ฟ้อนดาบ ของชาวไทใหญ่ในตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ก้าลายเป็นรูปแบบท่าของการต่อสู้ป้องกันตัวมีความเข้มแข็งดุดัน ไม่อ่อนช้อย มีการเดินเท้าแบบ 5 ขุม ท่วงท่าของลายต่อสู้นี้ เรียกว่า ลายฟัน และ 2. ลายก้าเป็นการพัฒนามาจากก้าลายมาเป็นรูปแบบการฟ้อนรำ เพื่อให้เกิดความสวยงามอ่อนช้อย มีท่วงท่าลีลา เรียกว่า ลายฟ้อน ในปัจจุบันการแสดงฟ้อนดาบถูกปรับเปลี่ยนหน้าที่และบทบาทไปตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงคือ 1. ความเชื่อและวิถีชุมชน ซึ่งถ่ายทอดออกมาทางคำสอนพระพุทธศาสนาอยู่ในประเพณีประจำฤดูกาลของชุมชน และ 2. เปลี่ยนแปลงไปตามบรรทัดฐานทางสังคมมีปรากฏอยู่ในวาระสำคัญ ๆ ในการแสดงต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง การเฉลิมฉลองในงานมงคลต่าง ๆ และการเรียนการสอนของโรงเรียนในชุมชน 

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์.

เจ้ายันฟ้าแสนทวี. (2544). ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่. เชียงใหม่ : ตรัสวิน.

เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร. (2560). ท่วงท่าลายต่อสู้ เรียกว่า ลายฟัน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏยศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร. (2560). ท่วงท่าลายต่อสู้ เรียกว่าลายฟ้อน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏยศิลป์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ธิตินัดดา มณีวรรณ์ และยุทธการ ขันชัย. (2552). ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน. (มปป.). ย้อนอดีตเมืองแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่ : นครฟิล์มอินเตอร์กรุ๊ป.

เอี่ยม คำแสน. ปราชญ์ท้องถิ่น. (สัมภาษณ์, 29 ตุลาคม 2560).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30