ทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาที่มีผลการเรียนภาษาญี่ปุ่นระดับปานกลาง - ต่ำ

ผู้แต่ง

  • สุธิดา แม้นมินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, พฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาที่มีผลการเรียนภาษาญี่ปุ่นในระดับปานกลาง-ต่ำ  2. ศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาที่มีผลการเรียนภาษาญี่ปุ่นในระดับปานกลาง-ต่ำ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่มีผลการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น 1 ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ต่ำกว่าหรือเท่ากับ C+ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติแบบพรรณนา การแจกแจงแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่มีผลการเรียนระดับปานกลาง-ต่ำมีทัศนคติต่อภาษาญี่ปุ่นในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 3.57 และพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นในระดับกลางมีค่าเฉลี่ย 3.31 การศึกษาเปรียบเทียบรายด้านพบว่า 1) เพศของนักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แต่มีทัศนคติในการเรียนภาษาญี่ปุ่นไม่แตกต่างกัน 2) สาขาวิชาที่ศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จำนวน 2 คู่ คือ คู่ที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และวิศวกรรมการผลิต คู่ที่ 2 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และการจัดการอุตสาหกรรม ส่วนด้านทัศนคติไม่พบความแตกต่าง 3) นักศึกษาที่มีระดับเกรดต่างกัน มีทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่นไม่แตกต่างกัน ส่วนผลจากข้อเสนอแนะ นักศึกษาต้องการให้อาจารย์ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย รวมทั้งประยุกต์สื่ออื่น ๆ เช่น ภาพยนตร์ อนิเมชั่น เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีในการเรียน

References

ดีเด่น เบ็ญฮาวัน. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นภัสวรรณ พรหมมณี และปาริตา ชามนตรี. (2558). ทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561. จาก https://prezi.com/2edr5gj-mms1/presentation/

เปรมวดี รัตกูล. (2541). การเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยบทเรียนโมดูล แบบมุ่งประสบการณ์ภาษากับการสอนตามคู่มือครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุทธนัทธี โต๊ะเร๊ะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่มีต่อการใช้แอพพลิเคชันไลน์ในด้านการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ยุพกา ฟูกุชิม่า กนกพร นุ่มทอง และสร้อยสุดา ณ ระนอง. (2556, เมษายน-กันยายน). ความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: แรงจูงใจต่างกันอย่างไร. ว.ญี่ปุ่นศึกษา. 30 (1), 27-40.

วิภาณี เพ็งเนตร. (2554). รายงานการวิจัย เรื่อง แรงจูงใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่มีผลการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาพื้นฐานและภาษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

สมพร โกมารทัต. (2548). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาที่สองระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น. ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561. จาก http://libdoc.dpu.ac.th/research/113886.pdf

สุวพรรณ ครุฑเมือง. (2544). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนภาษาญี่ปุ่น ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Koiso, K. (2003). The Characteristics of Motivation of Japanese Adult English Learners from JGSS-2003 Data. Retrieved 20 January 2018. From http://jgss.daishodai.ac.jp/research/monographs/jgssm5/jgssm5_08.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30