กระบวนการถ่ายทอดหัตถศิลป์ไทยในวิถีร่วมสมัยโดยห้องปฏิบัติการศิลปะไทยคราฟท์สตูดิโอ
คำสำคัญ:
กระบวนการถ่ายทอด หัตถศิลป์ ร่วมสมัย ไทยคราฟท์สตูดิโอบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยแนวทางการสืบสานคุณค่าหัตถศิลป์ไทย: กรณีศึกษาไทยคราฟท์สตูดิโอ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดหัตถศิลป์ไทยสู่บุคคลทั่วไปของห้องปฏิบัติการศิลปะไทยคราฟท์สตูดิโอ เพื่อนำเสนอแนวทางการสืบสานงานหัตถศิลป์ไทยหลักสูตรอบรม ระยะสั้นแบบปฏิบัติการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญหัตถศิลป์ ครูสอนหัตถศิลป์ และผู้เรียนที่เกี่ยวข้องจากพื้นที่วิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้วิธีการพรรณาวิเคราะห์เพื่อตีความสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการหลักสูตรอบรมภายในหนึ่งปีจัดอบรมหมุนเวียนประเภทงาน แจ้งตารางเรียนล่วงหน้าแต่ละเดือน 2. การออกแบบหลักสูตรอบรม เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่เคยมีพื้นฐานก็เรียนได้และสามารถนำวิธีการไปทำต่อยอดเองได้ 3. การปรับตัวและการพัฒนาโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การทำงานให้สะดวก การปรับเปลี่ยนบทบาทครูช่าง การปรับใช้สื่อประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ การปรับเปลี่ยนหน้าที่ของวัตถุชิ้นงานหัตถศิลป์ และการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำให้ของงานหัตถศิลป์ไทยมีความร่วมสมัยและเข้าถึงได้ง่าย 4. คุณค่าการอบรมระยะสั้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนเองด้านความรู้ การพัฒนาด้านจิตใจ การพัฒนาด้านอารมณ์ และด้านเครือข่ายสังคม 5. แนวทางการสืบสานงานหัตถศิลป์ไทยให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีสถานภาพที่หลากหลาย พบว่า วิธีการนำเสนอของไทยคราฟท์สตูดิโอ ช่วยสร้างการรับรู้ในสังคมและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการทำงานหัตถศิลป์ไทยผ่านกระบวนการประยุกต์ให้ร่วมสมัย สอดคล้องไปกับลักษณะสังคมยุคปัจจุบันและทำให้การเผยแพร่งานหัตถศิลป์ไทยยังคงดำรงและสืบสานต่อไป
References
กัมพล แสงเอี้ยม. (2559). วัฒนธรรมร่วมสมัยสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบงานหัตถกรรมผ้าทอท้องถิ่น. วารสารศิลปกรรมสาร, 11(1), 1-12.
จุลทัศน์ พยาฆรานนท์. (2547). สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกับงานฟื้นฟูงานช่างหัตถศิลป์ประเภทเครื่องคร่ำทอง - เงิน. วารสารวิชาการ, 7(3), 7-11
นิธิวิทย์ ชาติทรัพย์สิน. (2562). New Life the Modern Living Magazine. สืบค้น 11 ตุลาคม 2563. https://www.thaicity.co.th/uploads/ebook/file/20190328/dfijmstvy456.pdf
ปฐม ตาคะนานันท์. (2561). การบริโภคในวิถีชีวิตไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาวิถีไทย หน่วยที่ 1-8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพียงอัมพร ทองยัง. (ผู้ร่วมก่อตั้งและครูสอนหัตถศิลป์ของไทยคราฟท์สตูดิโอ). สัมภาษณ์, 16 มีนาคม 2563.
ปวลักขิ์ สุรัสวดี. (2554). การสืบสานภูมิปัญญาของสายสกุลช่างปูนปั้นจังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
มานิตา จันทร์ช่วงโชติ. (2563). กรอบแนวคิดในการวิจัย. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
มานิตา จันทร์ช่วงโชติ. (2563). กลุ่มผู้สนใจเรียนหัตถศิลป์ที่ไทยคราฟท์สตูดิโอ. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
มานิตา จันทร์ช่วงโชติ. (2563). การศึกษางานช่างศิลปะไทยสมัยรัตนโกสินทร์. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
มานิตา จันทร์ช่วงโชติ. (2563). ผู้เรียนระหว่างปฏิบัติการงานหัตถศิลป์ ณ ไทยคราฟท์สตูดิโอ. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
มานิตา จันทร์ช่วงโชติ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2563).แม่พิมพ์ลายดั้งเดิมทำจากหินสบู่ (Soapstone). [ภาพถ่าย]. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
มานิตา จันทร์ช่วงโชติ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2563). แม่พิมพ์ลายสมัยใหม่ทำจากเรซิ่น. [ภาพถ่าย]. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
มานิตา จันทร์ช่วงโชติ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2563). ลายหม้อบูรณะฆฏะและการออกแบบลายปักผ้าหน้าหมอนของไทยคราฟท์สตูดิโอ. [ภาพถ่าย]. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
วิสาข์ สอตระกูล. (2562). Creative Craft Transformation เมื่อธุรกิจคราฟท์ยุคใหม่ต้องหัดขายประสบการณ์. สืบค้น 12 ตุลาคม 2563. https://hr.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Contextual.
สัมพันธ์ รอดพึ่งครุฑ. (2540). งานวิจัยการใช้เวลาว่างกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์. สถาบันราชภัฎอุตรดิตถ์.
Manita Janchoungchot. (2022). Transmission guideline of Thai traditional craftsmanship in the digital age. Humanities, Arts and Social Sciences Studies, 22(1), 1-8.
Thai Craft Studio. (2563). รอบสุดท้ายแล้วในปีนี้กับคลาสเรียนปิดทองแบบครบทุกขั้นตอนครบทุกสูตร#ศิลปะไทย ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว#ศึกษาเพื่อสืบสาน. สืบค้น 20 ตุลาคม 2563. https://www.facebook.com/Thai.craft.studio.TH/posts/3513208295407510.
The cloud. (2563). Thai craft studio สตูดิโอช่างสิบหมู่ที่เชื่อว่าความรู้คือการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนที่สุด. สืบค้น 20 มีนาคม 2564. https://readthecloud.co/thai-craft-studio.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.