การบริหารจัดการโรงเรียนดนตรีแบบการศึกษานอกระบบ ตามมาตรา 15 (2) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542: กรณีศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ถาวร วัฒนบุญญา วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, โรงเรียนดนตรี, การศึกษานอกระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง และ 2) ศึกษาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน เจ้าหน้าที่ ผู้ปกครอง และนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่จำนวน 1 คน ผู้ปกครอง จำนวน 4 คน และนักเรียน จำนวน 4 คน โดยคัดเลือกแต่ละกลุ่มแบบเจาะจงเพื่อสัมภาษณ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์มีลักษณะแบบปลายเปิด และมีลักษณะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานจัดการของโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง เป็นการบริหารในรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยในลักษณะระบบครอบครัว โดยแบ่งหน้าที่การบริหารจัดการดังนี้ 1) ด้านผู้บริหาร 2) งานด้านวิชาการ 3) งานด้านธุรการ 4) งานด้านการเงิน 5) งานด้านกิจกรรม 6) งานบริการชุมชน 7) อาคารสถานที่ และ 8) วัสดุอุปกรณ์ 2. หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง มีหลักสูตรที่เปิดสอน 8 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรดนตรีขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก ใช้หลักสูตร Music for Little Mozart หรือที่เรียกว่า “MLM” 2) หลักสูตรเปียโน 3) หลักสูตรอิเล็กโทน 4) หลักสูตรกีตาร์ 5) หลักสูตรกีตาร์เบส 6) หลักสูตรกลองชุด 7) หลักสูตรไวโอลิน และ 8) หลักสูตรขับร้อง โดยทุกหลักสูตรที่โรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง เปิดสอนจะจัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 1 ชั่วโมง

References

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรกลองชุด. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรกีตาร์ (กีตาร์คลาสสิคและกีตาร์ไฟฟ้า). [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรกีตาร์เบส. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรขับร้อง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรเปียโน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรไวโอลิน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอิเล็กโทน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). การจัดการเรียนการสอนหลักสูตร Music for Little Mozart (MLM). [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). กิจกรรมภายนอกโรงเรียน ณ สวนสาธารณะ โรงแรมมาดีน่า จังหวัดระยอง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). กิจกรรมภายในโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง (การแสดงวงเครื่องสาย). [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). โครงสร้างผู้บริหารโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). นักเรียนโรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง สอบผ่านเกณฑ์ของสถาบันสอบ ABRSM หรือ The Associated Board of the Royal Schools of Music. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ถาวร วัฒนบุญญา. (2560). อาคารสถานที่โรงเรียนดนตรีระยอง จังหวัดระยอง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

บุญพิศ นัยน์พานิช. (2543). ความพึงพอใจในการบริการของผู้ใช้บริการ กรณีศึกษา : โครงการการศึกษาดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป วิทยาลัยภูมิพลสังคีต มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศรายุธ จันทรางกูร. (2548). โรงเรียนดนตรีเอกชน : สภาพทั่วไป ต้นทุน และความต้องการครูดนตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2543). เกณฑ์คุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตามรูปแบบการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ : กองส่งเสริมการศึกษานอกระบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.

สำนักพิมพ์เดอะบุ๊คส์. ฝ่ายวิชาการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : เดอะบุ๊คส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30