การวิเคราะห์อัตลักษณ์นางเอกลิเกลูกบท
คำสำคัญ:
Identity, Main Actress of Li- Ke- Look- Botบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความเป็นมาและรูปแบบของการแสดงลิเกลูกบท 2.ศึกษากระบวนการฝึกหัดการแสดงของนางเอกลิเกลูกบทและ 3.วิเคราะห์คุณลักษณ์และอัตลักษณ์ของนางเอกลิเกลูกบทมีวิธีการดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ คือศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สังเกต และบันทึกภาพข้อมูลเกี่ยวกับนางเอกลิเกลูกบท รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยการจัดสัมมนากลุ่ม (Focus Group) ผลการศึกษาพบว่า 1. ลิเกลูกบทเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากลิเกบันตน โดยใช้วงปี่พาทย์บรรเลงรับร้อง และนำรูปแบบการแสดงของละครประเภทต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาและผสมผสานจนกลายเป็นรูปแบบที่เป็นอัตลักษณ์ของลิเกลูกบท ซึ่งมีขั้นตอนการแสดง 4 ขั้นตอน คือ การโหมโรง การออกแขกการแสดง และการลาโรง ในการดำเนินการแสดง มีวิธีการดำเนินการแสดง 3 ขั้นตอน คือ การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการลาโรง และองค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงประกอบด้วยเนื้อเรื่อง ตัวบท เครื่องดนตรี เพลงสถานที่ เวทีฉาก อุปกรณ์ประกอบ เครื่องแต่งกาย ผู้แสดง และกระบวนท่ารำ 2. การฝึกหัดการแสดงของนางเอกลิเกลูกบทมี 3 ลักษณะ ดังนี้ 1.การฝึกหัดการร้อง ทั้งร้องดำเนินเรื่อง และร้องประกอบอารมณ์ 2.การฝึกหัดการใช้ปฎิภาณด้านการด้นและการแสดง และ 3.การฝึกหัดการรำ ประกอบด้วยการรำใช้บท และการรำเพลงหน้าพาทย์ 3. คุณลักษณ์และอัตลักษณ์นางเอกลิเกลูกบท พบว่า คุณลักษณ์คือ การใช้ปฏิภาณ การร้อง และการรำด้านอัตลักษณ์ ถือว่าเป็นความโดดเด่นของผู้แสดง เช่น นางเอกพิศมัย หลานหอมหวล มีอัตลักษณ์การร้องดำเนินเรื่องด้วย เพลงราชนิเกลิง เพลงสองชั้น เพลงชั้นเดียว เพลงตับและเพลงเถา ด้านการรำมีการใช้กระบวนท่ารำประกอบบทร้องและท่ารำอวดฝีมือ (รำเดี่ยว) และเป็นผู้มีปฏิภาณด้านการด้นกลอนและใช้ภาษาถูกต้องตามหลักของกลอนลิเก
References
กรวิภา เลาศรีรัตนชัย. (2560). ครูน้อม รัตประจิต (ครูละครวังสวนกุหลาบ). [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
กรวิภา เลาศรีรัตนชัย. (2560). ท่าตัวเรา. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
กรวิภา เลาศรีรัตนชัย. (2560). ท่ายิ้ม. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
กรวิภา เลาศรีรัตนชัย. (2560). ท่ารัก. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
กรวิภา เลาศรีรัตนชัย. (2560). ท่าเศร้า. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
กรวิภา เลาศรีรัตนชัย. (2560). ท่าอาย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
กิ่งดาว ภู่ระหงษ์. (2555). การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการแสดงลิเกลูกบทของคณะพรเทพ พรทวีกับคณะเฉลิมชัย มาลัยนาค. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
แก้วใจ เอนกลาภ. ศิลปินลิเกคณะดวงแก้ว ลูกท่าเรือ. (สัมภาษณ์, 2 ตุลาคม 2560).
จิรวรรณ เกิดปราง และคณะ. (2558). ลิเกทรงเครื่องคณะวิโรจน์ หลานหอมหวล เรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาลานางจินตะหรา. ศิลปนิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
บุญเลิศ นาจพินิจ. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงลิเก. (สัมภาษณ์, 13 มีนาคม 2561).
พรเพ็ญ นาจพินิจ. ศิลปินลิเก. (สัมภาษณ์, 2 กรกฎาคม 2560)
มณี เทพาชมพู. (2546). รายงานผลการวิจัยเรื่อง ลิเก : การอนุรักษ์และพัฒนาการตามมิติทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
วิโรจน์ วีระวัฒนานนท์. (2509). นางเอกพิศมัย หลานหอมหวล. [ภาพถ่าย]. พระนครศรีอยุธยา : คณะหอมหวล.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2539). ลิเก. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.