การศึกษาพฤติกรรมทศกัณฐ์จากวรรณกรรมสู่การแสดง: ทศกัณฐ์เกี้ยวนางเบญกาย
คำสำคัญ:
กระบวนท่ารำ, ทศกัณฐ์, โขนบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาประวัติความเป็นมาและพฤติกรรมของทศกัณฐ์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ 2.ศึกษากระบวนท่ารำที่แสดงออกถึงพฤติกรรมการเกี้ยวของทศกัณฐ์ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดทศกัณฐ์เกี้ยวนางเบญกายและ 3.วิเคราะห์โครงสร้างและกระบวนท่ารำในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดทศกัณฐ์เกี้ยวนางเบญกายตามแนวทางอาจารย์จตุพร รัตนวราหะ วิธีดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ฝึกปฏิบัติกระบวนท่ารำชุดทศกัณฐ์เกี้ยวนางเบญกายและจัดประชุมสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ทศกัณฐ์ในอดีตชาติชื่อนนทกเป็นยักษ์มีหน้าที่ในการเฝ้าประตู มาเกิดใหม่ชื่อว่าทศกัณฐ์เป็นบุตรของนางรัชดาและท้าวลัสเตียน พฤติกรรมของทศกัณฐ์ที่พบจากบทวรรณกรรมรามเกียรติ์ฉบับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้แก่ พฤติกรรม ความรัก ความโลภ ความโกรธและความหลงกระบวนท่ารำที่แสดงออกถึงพฤติกรรมการเกี้ยวของทศกัณฐ์ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ทศกัณฐ์เกี้ยวนางเบญกาย พบว่ากระบวนท่ารำแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่กระบวนท่ารำที่แสดงพฤติกรรมภายใน ได้แก่ กิริยาการเขินอาย กระบวนท่ารำที่แสดงพฤติกรรมภายนอก ได้แก่ ท่าเกี้ยว ท่าโลม เป็นต้น โครงสร้างกระบวนท่ารำตามแนวทางของอาจารย์จตุพร รัตนวราหะ ประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ กระบวนท่ารำตีบทตามคำร้อง กระบวนท่ารำการตีบทในท่าเชื่อมท้ายบทและรำทวนบทร้องด้วยทำนองเพลง
References
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ลักษณะของพฤติกรรมท่าเขิน. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ลักษณะของพฤติกรรมท่าอาย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ลักษณะการเกี้ยวในท่ามอง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ลักษณะการเกี้ยวในท่าเชยคาง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ท่าโลม 2 มือ. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ท่าโลมล่าง. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). การตีบทในคำร้อง “ธานี”. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ลักษณะการเข้าโลมมือเดียวและโลม 2 มือในท่าเชื่อมท้ายบท. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
คทาวุธ กลิ่นพิพัฒน์. (2560). ลักษณะการรำทวนบทในท่ารับจากคำร้อง “เป็นความในใจจริงทุกสิ่งสรรพ์”. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2559). แก่นเรื่องและบทบาทของแก่นเรื่องในบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช. ว.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 8 (3), 1-30.
นิรมล หาญทองกูล. (2557). ศุภลักษณ์ : นางสำคัญในเรื่องอุณรุท. ว.สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16 (1), 176-191.
ประเมษฐ์ บุณยะชัย. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนยักษ์) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (สัมภาษณ์, 20 ธันวาคม 2560).
วรรณนะ หนูหมื่น. (2555). นัยการล่วงละเมิดทางเพศในวรรณคดีไทยโบราณ : กรณีสีดาถูกคุกคามทางเพศและวันทองถูกข่มขืน. ว.สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 13 (2), 65-75.
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช,พระบาทสมเด็จ. (2554). บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. กรุงเทพฯ : เพชรกะรัต.
สมศักดิ์ ทัดติ. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนยักษ์) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2560).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.