วิทยาวรรณกรรม: คุณค่าและแนวคิดศาสตร์พระราชาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร

ผู้แต่ง

  • จุฬาวดี พูลเจริญ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

วรรณกรรม, คุณค่า, ศาสตร์พระราชา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าทางวิชาการและแนวคิดศาสตร์พระราชาจากหนังสือวิทยาวรรณกรรมพระนิพนธ์ของพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องเป็นวรรณกรรมดีเด่นประเภทสารคดีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณค่าทางวิชาการ องค์ความรู้ที่ผู้ประพันธ์นำเสนอไว้สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดี ได้แก่ ความหมาย ประเภท ความนิยม รสนิยม วรรณคดีวิพากษ์ และวรรณศิลป์ กลุ่มที่สองคือ ภาษาในวรรณคดี ได้แก่ ความหมาย สาระรูป การหน้าที่ สรุปหลักการวรรณศิลป์ และโปเอติกส์ของอาริสโตเติล กลุ่มสุดท้าย คือ ภาษาศาสตร์ ได้แก่ ความหมาย ลักษณะของภาษาไทยสยาม และที่มาของคำ 2) แนวคิดศาสตร์พระราชา ได้แก่ การทำงาน ความพากเพียร และความอดทน การรักษ์ภาษาไทยและหลักการทรงงาน คือ ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบและความเพียร

References

กรมศิลปากร. (2562). วรรณกรรมยอดเยี่ยมในสมัยรัชกาลที่ 9 ตามแนวคิดศาสตร์พระราชา. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร.

กุสุมา รักษมณี. (2547). กุสุมาวรรณนา 2: เส้นสีลีลาวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2522). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชลธิชา บำรุงรักษ์ และนันทนา รณเกียรติ. (2558). ภาษาคืออะไรใน ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดียู ศรีนราวัฒน์. (2558). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์. (2548). วิทยาวรรณกรรม. วารสารปากไก่ ฉบับพิเศษ. สมุทรปราการ: ดี.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2522). วรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา. (2562). พลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์พริ้นท์กรุ๊ป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30