การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวจากอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรา เดชโฮม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • กุลธิดา ทุ่งคาใน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • แฝงกมล เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นิรันดร์ สุธีนิรันดร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ปัทมา วัฒนบุญญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สายฝน ทรงเสี่ยงไชย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ถาวร วัฒนบุญญา วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อมลณัฐ โชติกิจนุสรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พีระพงษ์ กุลพิศาล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, มูลค่าการท่องเที่ยว, อัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวจากอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีให้ได้ปฏิทินฤดูกาล การกำหนดกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลเชิงลึกเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่ง แบ่งประชากรออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยว ทั้งระดับจังหวัด และ ระดับอำเภอ จำนวน 50 คน ภาคเอกชน ประกอบด้วยผู้ประกอบการโรงแรม/รีสอร์ท/ที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกผู้ประกอบการรถโดยสาร และบริษัทนำเที่ยว จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประชาชนในท้องถิ่ นมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 100 คนผู้วิจัยได้กำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 100 คน กำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structured Interview) แบบสังเกต (Observation) แบบสังเกตการณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเซิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และใช้สถิติพื้นฐาน การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Means) และ การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ 5 ชาติพันธุ์ ประกอบด้วยชาวไทยทรงดำ ไทยพวน ลาวเวียง ลาวครั่ง และไทยจีน ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย หากแบ่งตามประเภทที่กำหนดออกเป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงทรัพยากรธรรมชาติ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านสิ่งดึงดูดใจ พบว่า สิ่งดึงดูดใจทรัพยากรท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) ทรัพยากรธรรมชาติ 2) ประวัติศาสตร์และโบราณคดี และ 3) วัฒนธรรมและประเพณี ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า สิ่งอำนวยความสะดวก
การท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย ที่พัก โรงแรม โฮมสเตย์ และร้านอาหาร ด้านความสามารถในการเข้าถึง พบว่า ความสามารถในการเข้าถึงการท่องเที่ยวของอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สามาถเดินทาง
เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกและใกล้ชิด 3) ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว พบว่า มีการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้มีความน่าดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว มีเส้นทางคมนาคมสะดวกสบาย สามารถเดินทางได้หลากหลายเส้นทาง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวของอำเภออู่ทองมีความพร้อมในด้านต่างๆ ด้านความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างเพียงพอและทั่วถึง ด้านความสามารถในการรองรับของพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออู่ทองมีร้านอาหารที่มีความหลากหลายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อตามความชื่นชอบ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนชุมชนมีส่วนร่วมกับสถานที่ท่องเที่ยวในการประชาสัมพันธ์ 4) ศักยภาพในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันของอำเภออู่ทอง ที่ได้จากการสอบถามผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนนในท้องถิ่น ภาพรวมทุกด้าน พบว่า ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในท้องถิ่น มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในปัจจุบันของอำเภออู่ทองโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ศักยภาพการปฏิบัติงานด้านทรัพยากรท่องเที่ยว รองลงมาคือ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และน้อยที่สุด คือ ด้านความปลอดภัย5) การตรวจสอบความเหมาะสมของปฏิทินฤดูกาลการท่องเที่ยวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

References

กนกวรรณ ธานิสะพงษ์. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบการท่องเที่ยวของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. [บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2545). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2548). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

จารุวรรณ แก่นทิพย์. (2550). แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอวังน้ำเขียว. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]

ฉวีลักษณ์ บุญยกาญจน์. (2523). จิตวิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธีรพัฒน์ ตื้อตัน. (2546). ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่วนอุทยานม่อนพระยาแช่ ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรสแอนด์ดีไซน์.

พัชรา เดชโฮม. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2563). ปฏิทินฤดูกาลการท่องเที่ยวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ลลนา คลังชำนาญ. (2552). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนแบบบูรณาการใน จังหวัดชัยภูมิ. [ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]

วารี ถิระจิตร. (2531). การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณา วงษ์วานิช (2539). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]

ศิริรัตน์ โตสัมพันธ์มงคล. (2549). การวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในจังหวัดตาก. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]

สมหมาย เชื้อพงษ์. (2538). ธุรกิจชุมชน เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์กองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2561-2564. สุพรรณบุรี: งานพัฒนาชุมชนอำเภออู่ทอง.

หทัย ตันหยง. (2528). การสร้างวรรณกรรมและหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์

Richards, G. & Marques, L. (2012). Exploring creative tourism: Editors introduction. Journal of Tourism Consumption and Practice, 4(2), 1-11.

Salman, D. & Uygur, D. (2010). Creative tourism and emotional labor: An investigatory model of possible interactions. International Journal of Culture Tourism and Hospitality Research, 4(3), 188-197.

Wurzburger, R. (2010). Introduction to the Santa Fe & UNESCO international conference a global conversation on best practices and new opportunities. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative tourism: A global conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO international conference on creative tourism in Santa Fe. (pp. 15–25). New Mexico. USA

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30