พลังการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาป้ายรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา สายพรหม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่, ภาคประชาสังคม, การขนส่งสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ (New social movements: NSMs) ผ่านปรากฏการณ์ “การรณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหาป้ายรถเมล์ไทยที่ไม่บอกเส้นทางเดินรถในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งแตกต่างจากการเรียกร้องและรณรงค์ในลักษณะเดิมที่เน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น และมีประเด็นการเคลื่อนไหวที่สะท้อนถึงการกระทำร่วมกันบนฐานของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชนชั้นนั้น ๆ อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในขณะที่การปรากฏตัวของการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ จะมีความหลากหลายทั้งในแง่ความคิด ค่านิยม อุดมการณ์ ผลประโยชน์ของผู้เข้าร่วม และรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ให้ความสำคัญต่อบทบาทของปัจเจกชนกับการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์มากกว่าการปฏิบัติการร่วมของมวลชน รวมไปถึงการใช้พื้นที่สาธารณะบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม โดยตัวแทนภาคประชาชน พร้อมอธิบายให้เห็นถึงคุณลักษณะที่สำคัญของการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ และการวิเคราะห์ความสำเร็จด้วยมุมมองตามขั้นตอนของการเคลื่อนไหวทางสังคมผ่านปรากฏการณ์นี้ โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการประสานสื่อการขยายเครือข่าย และข้อควรระวัง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงจนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้คน โครงสร้างและความเป็นเมืองทั่วถึงของทุกคนต่อไปในอนาคต

References

กรมขนส่งทางบก, กลุ่มสถิติการขนส่ง. (2562). สถิติการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ โทร. 1584 ประจำปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2561 - กันยายน 2562). สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กรุงเทพมหานคร. (2562). 47 ปี กรุงเทพมหานคร รายงานประจำปี 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://159.192.103.252/bmanews/vdo/8TB/eBooks/ebook/BMA-AR2562.html

กิตติพงศ์ ชัยกิตติภรณ์ และอุบลวรรณา ภวกานันท์. (2559, มกราคม - มิถุนายน). การพัฒนาการให้บริการรถโดยสารประจำทางขององค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.). วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 14(1), 157-179.

กุลธิดา สายพรหม. (ผู้ถ่ายภาพ). (2563). ป้ายรถเมล์แบบเก่าและแบบใหม่. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

กันต์กนิษฐ์ มิตรภักดี. (2560). พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกับ “Mayday” กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าทุกคนสร้างความเปลี่ยนแปลงได้. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://thematter.co/entertainment/mayday-interview/26039

พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2560, กันยายน-ธันวาคม). การขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(49), 59-77.

นิธิดา แสงสิงแก้ว และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2563, มกราคม-เมษายน). แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล: เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง. วารสารศาสตร์, 13(1), 135-159.

ยุทธพร อิสระชัย. (2554). ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในสังคมโลก. (หน่วยที่ 10 เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมโลก). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2557). การจัดการทางสังคม: การจัดการองค์กรประชาชนการจัดการองค์กรทางสังคม การจัดการองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ การจัดการองค์กรเพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครศรีธรรมราช: เสือผินการพิมพ์.

ศิริวรรณ สิทธิกา. (2562). โมเดลแบบ “เมล์เดย์” จากคนถูกปกครองมาเป็นคนร่วมกันคิด-เราทำอะไรให้กับเมืองได้บ้าง. สืบค้น 9 พฤษภาคม 2564, จาก https://themomentum.co/mayday/

สมชัย ภัทรธนานันท์. (2559). ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: อินทนิล.

สุดาพร จิรานุกรสกุล. (2560). Mayday ออกแบบป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่เข้าถึงได้ เข้าใจง่ายกว่าเดิม. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.creativecitizen.com/mayday/

สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร์. (2562, มกราคม-เมษายน). พลังของสื่อสังคมกับการขับเคลื่อนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(53), 132-155.

A day magazine. (2561). วันใดที่ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหลักในการเดินทางสำหรับทุกคน, วันนั้นตายตาหลับ. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://adaymagazine.com/the-mayday-dream-bus-stop/

Change.org. (2559). เรื่องรณรงค์ “ปัญหาป้ายรถเมล์ไทยไม่มีป้ายบอกเส้นทางเดินรถ”. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.change.org/p/6281942/u/15880361

Christiansen, J. (2009). Four stages of social movements: Social movements & Collective Behavior > Four stages of social movements. EBSCO Publishing. 1-7. Retrieved 12 February 2019, from https://www.academia.edu/36166479/Four_Stages_of_Social_Movements

Hootsuite. (2021). Digital 2021 global overview report. Retrieved 26 May 2021, from https://datareportal.com/reports/6-in-10-people-around-the-world-now-use-the-internet

Hootsuite. (2021). Digital 2021 Thailand. Retrieved 26 May 2021, from https://datareportal.com/reports/digital-2021-thailand

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30