การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยเพื่อการตกแต่งภายใน

ผู้แต่ง

  • ฉัตรดาว ไชยหล่อ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • จริยา ทรงพระ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • วรสุดา ขวัญสุวรรณ สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • พิยดา จันทร์แก้ว สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • จิราพัชร ขุนแสง สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • สุนันทา สุวรรณพงศ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย, มาคราเม่, เชือกกล้วย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วยเพื่อการตกแต่งภายในเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยโดยเทคนิคมาคราเม่และศึกษาความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย โดยผู้วิจัยได้ทำการออกแบบแบบร่างขอบกระจกจำนวน 9 รูปแบบและให้ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือก จำนวน 3 รูปแบบ เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยทำเป็นขอบกระจก จำนวน 3 ชิ้นงาน โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ประกอบการร้านคาเฟ่ ในตำบลบ่อยางอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 5 ร้าน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยโดยเทคนิคมาคราเม่ที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ รูปแบบที่ 1 รูปทรงธรรมชาติแรงบันดาลใจจากดอกไม้ รูปแบบที่ 3 รูปทรงธรรมชาติแรงบันดาลใจจากแสงสว่างพระอาทิตย์ และรูปแบบที่ 6 รูปทรงเรขาคณิตแรงบันดาลใจการนำครึ่งวงกลมมาต่อกัน จากการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยทั้ง 3 รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด โดย รูปแบบที่ 1 มีระดับมากที่สุด ด้านวัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย 5) รูปแบบที่ 3 มีระดับมากที่สุด ด้านความคงทน ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นเอกลักษณ์ วัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม ในสัดส่วนที่เท่ากัน (ค่าเฉลี่ย 4.80) และ รูปแบบที่ 6 ระดับมากที่สุด ด้านวัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย 4.80) จากการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยทั้ง 3 รูปแบบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์จากกล้วยกล้วยรูปแบบที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวม คือ 4.50

References

ฉัตรดาว ไชยหล่อ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). แบบร่างขอบกระจกเพื่อการตกแต่งแบบที่ 1-9. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ฉัตรดาว ไชยหล่อ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). กระบวนการทำผลิตภัณฑ์. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ฉัตรดาว ไชยหล่อ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). ภาพสำเร็จขอบกระจกจากเชือกกล้วยแบบที่ 1. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ฉัตรดาว ไชยหล่อ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). ภาพสำเร็จขอบกระจกจากเชือกกล้วยแบบที่ 3. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ฉัตรดาว ไชยหล่อ. [ผู้ถ่ายภาพ]. (2565). ภาพสำเร็จขอบกระจกจากเชือกกล้วยแบบที่ 6. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ณิศรา ไทยสมบูรณ์. (2557). การศึกษาพัฒนารูปแบบหัตถกรรมท้องถิ่นกรณีศึกษากลุ่มวัสดุจากต้นกล้วย ชุมชนบ้านหัวควาย ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ปราณี กิติเสถียรพร. (2548). ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเชือกกล้วยกรณีศึกษากลุ่มแม่บานเกษตรกรบ้านหัวควาย หมู่ที่ 9 ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. กรมส่งเสริมการเกษตร.

พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์ และราชัน แพ่งประเสริฐ. (2560). เชือกกล้วยฟั่นจากหัตถกรรมสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ “โฮมภูมิ ครั้งที่ 3: Wisdom to the Future: ภูมิปัญญาสู่อนาคต” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (น. 437-445).

ศศิณัฎฐ์ หล่อธนารักษ์. (2558). การศึกษาคุณสมบัติแปรรูปจากต้นกล้วยเพื่อนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายใน. [วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

สุดจิตต์ สาลักษณ์. (2550). มาคราเม่. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

เสาวลักษณ์ คงคาฉุยฉาย. (2548). ศิลปะการมัดเชือกแบบมาคราเม่. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-03