การบอกเล่าเรื่องราวผ่านงานเครื่องประดับเงินชนเผ่าไป๋ร่วมสมัย: โดยใช้หมู่บ้านซินหัว มณฑลอวิ๋นหนานเป็นกรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • CHUANLE FU คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พงศ์เดช ไชยคุตร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภรดี พันธุภากร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ชนเผ่าไป๋, หมู่บ้านซินหัว, การบอกเล่าเรื่องราว, การออกแบบงานเครื่องประดับเงินร่วมสมัย

บทคัดย่อ

ในฐานะหมู่บ้านช่างฝีมือชนเผ่าไป๋ที่มีชื่อเสียงขจรขจายกว้างไกลของมณฑลอวิ๋นหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื่องด้วยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและปัจจัยเชิงมานุษยวิทยาภายในท้องที่ หมู่บ้านซินหัวจึงเป็นสถานที่ซึ่งไม่เพียงมีประวัติศาสตร์ด้านการสร้างสรรค์งานเครื่องเงินและเครื่องประดับเงินสไตล์ชนเผ่าไป๋มาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกันเพราะเทคโนโลยีจากการผลิตงานหัตถศิลป์เหล่านี้จึงทำให้หมู่บ้านซินหัวประสบความสำเร็จทั้งในด้านการตลาดและการบูรณาการปัจจัยอัตลักษณ์ประจำชาติพันธุ์ในระดับสูงตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มทำให้หมู่บ้านแห่งนี้วิธีและวิถีทางพัฒนาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เกือบทุกประเทศล้วนมีงานเครื่องประดับสไตล์ดั้งเดิมเป็นของตนเอง ในขณะที่เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ดำเนินไป เครื่องประดับเหล่านี้ก็ได้รับการพัฒนาจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านและทดแทนซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือไหลผ่านไปอย่างรวดเร็วตามกระแสกาลเวลาที่ทอดยาวราวแม่น้ำใหญ่ ทว่าเครื่องประดับดั้งเดิมในแต่ละช่วงสมัยล้วนสะท้อนให้เห็นถึงช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์สภาพแวดล้อม และปรากฏการณ์เชิงมานุษยวิทยาที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงที่ชาติพันธุ์นั้น ๆ ได้ประสบและข้ามผ่าน ทว่าในปัจจุบันงานหัตถศิลป์เครื่องประดับดั้งเดิมของชนเผ่าไป๋กลับไม่ได้พัฒนาไปตามกาลยุคสมัยที่มุ่งพัฒนาไปข้างหน้า ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พลังชีวิตในศิลปะเก่าแก่แขนงนี้เสื่อมถอยลงอย่างมาก บทความวิจัยนี้จึงต้องการนำงานเครื่องประดับมาใช้ประโยชน์ในฐานะสื่อกลางถ่ายทอดเรื่องราว โดยใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านซินหัวเป็นเรื่องราวภูมิหลัง แล้วดำเนินการจัดระเบียบ คัดสรรเรื่องราวและสัญลักษณ์ดั้งเดิมของชนเผ่าไป๋ในหมู่บ้านแห่งนี้ โดยผ่านการวิจัยแบบสหวิทยาการเกี่ยวกับแนวคิดและข้อดีของศาสตร์แห่งการเล่าเรื่องมุ่งศึกษาค้นคว้าความเป็นไปได้ในการสร้างผลงานเครื่องประดับเงินรูปแบบใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการออกแบบร่วมสมัยและแรงบันดาลใจจากชนเผ่าไป๋หมู่บ้านซินหัว โดยทดลองออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานด้วยการอ้างอิงข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้ เพื่อก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ในการพัฒนางานเครื่องประดับของท้องที่แห่งนี้ ตลอดจนนำเสนอข้อเสนอแนะการวิจัยเพื่อพัฒนาหัวข้อวิจัยต่อไปในภายหลัง

References

Fu, C. [Photographer]. (2023). Butterfly pattern parts and cylindrical box pendant for holding embroidery needles. [Photo]. Burapha University.

Fu, C. [Photographer]. (2023). Sketch images and butterfly pattern works that have gone through the process of deconstructing and reconstructing. [Photo]. Burapha University.

Fu, C. [Photographer]. (2023). Sketch and work of wireless headphone case using silver metal bending craftsmanship technique. [Photo]. Burapha University.

Fu, C. [Photographer]. (2023). Jewelry design sketches tell a story using metal craft backings as creative models. [Photo]. Burapha University.

Fu, C. [Photographer]. (2023). Silver chest jewelry for men. [Photo]. Burapha University.

Li, W. (2018). Research on Narrative Design of Jewelry. Journal of Shandong Academy of Arts and Crafts, 2018(1), 95-100.

Liu, X. (2020). Jewelry Art Design and Production. (6th ed.). China Light Industry Press.

Ma, Q. (2021). Development and Design Strategies of Image Narrative. Packaging Engineering, 2021(20), 252-259.

Sun, R., & Fan, J. (2004). Bai Artisan Village. Yunnan People’s Publishing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-26