การไกล่เกลี่ยเชิงรับและรุกในคดีผู้บริโภคประเภทกู้ยืมเงินในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ไพเนตร ธนาบริบูรณ์ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนากระบวนการ, การระงับข้อพิพาททางเลือก, การไกล่เกลี่ย, คดีผู้บริโภคประเภทกู้ยืมเงิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์หัวข้อเรื่องการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีผู้บริโภคในไทย: ศึกษาคดีผู้บริโภคประเภทกู้ยืมเงิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาข้อความคิดเชิงนิติศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยการไกล่เกลี่ยในคดีผู้บริโภคประเภทการกู้ยืมเงินสินเชื่อส่วนบุคคลไม่มีหลักประกัน (Unsecured Personal Loan) โดยทำการวิเคราะห์ปัญหากฎหมายและผลกระทบจากการปรับใช้กฎหมายและกฎเกณฑ์การไกล่เกลี่ยในคดีผู้บริโภคประเภทนี้ในประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศญี่ปุ่น โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาจากเอกสาร ตลอดจนรวบรวมข้อเท็จจริงสถิติ ประสบการณ์และปัญหาจากการปฏิบัติงานของผู้เขียน เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยในคดีผู้บริโภคประเภทการกู้ยืมเงินแบบไม่มีหลักประกันของประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า ปัญหากฎหมายกับการปรับใช้กฎหมายและกฎเกณฑ์การไกล่เกลี่ยคดีประเภทนี้ และระบบการบริหารจัดการการไกล่เกลี่ยส่งผลกระทบต่อการลดปริมาณคดี เนื่องจากคดีประเภทมีลักษณะที่แตกต่างจากคดีผู้บริโภคทั่วไปที่ลูกหนี้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดสัญญา ประกอบกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 10 (1) (1/11) และมาตรา 20 (1) และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพ.ศ. 2562 มาตรา 69 (1) รองรับการบริหารจัดการการไกล่เกลี่ยในลักษณะเชิงรับอย่างเป็นทางการ (Passive And Formal Approach) ที่คู่กรณีผู้ประสงค์จะไกล่เกลี่ยจะต้องยื่นคำร้องเพื่อการไกล่เกลี่ย ทำให้ลูกหนี้ผู้บริโภคที่ผิดสัญญาและหลบเลี่ยงการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ย่อมจะไม่ยื่นคำร้องแสดงความประสงค์เพื่อเริ่มการไกล่เกลี่ยหนี้กู้ยืมเงินตามที่เป็นอยู่ ส่งผลให้กลไกการไกล่เกลี่ยไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ นอกจากนี้ กฎเกณฑ์และกฎระเบียบเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยตามที่ใช้อยู่และบทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติคนกลางผู้ประนอมยอมความและคุณสมบัติคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยตามหน่วยงานต่าง ๆ กำหนดให้คนกลางมีเพียงประสบการณ์การทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั่วไป ทำให้ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยในคดีประเภทนี้ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของหนี้ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการข้อพิพาทและการประเมินค่าเสียหายอย่าง มีประสิทธิภาพในคดีประเภทนี้บทความนี้จึงเสนอให้มี 1) การปรับเปลี่ยนและการพัฒนากฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยจากเดิมที่มีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ยเชิงรับเป็นการไกล่เกลี่ยเชิงรุก (Pre-active/Proactive Approach) โดยยอมรับและเผยแพร่รณรงค์แนวคิดสิทธิมนุษยชน หลักการช่วยเหลือผ่อนปรน (Subsidiary/Debt Forgiveness) ผสมผสานกับแนวคิดการไกล่เกลี่ยเฉลี่ยประโยชน์ (win-win) และแนวคิดพุทธปรัชญา พร้อมทั้งสร้างวิธีคิดวัตถุประสงค์ และแนวคิดการไกล่เกลี่ยใหม่ คือ “การไกล่เกลี่ยเพื่อประชาชน” เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาและลดหนี้สินเพื่อให้ลูกหนี้ผู้บริโภคหลุดพ้นจากหนี้ตามแผนการชำระหนี้โดยเร็ว เพื่อให้พ้นกับดักความยากจนตามหลักการการไกล่เกลี่ยด้วยแนวคิดดังกล่าวรวมทั้งการไกล่เกลี่ยยุติธรรมในตัวเองโดยลดละเลิกความต้องการบางส่วนลงด้วยตนเอง ตามระบบรากฐานโครงสร้างเดิมที่เป็นอยู่ตามวิถีพุทธ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป และ 2) เสนอปรับแก้คุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ประนอมข้อพิพาทตามกฎหมายโดยเพิ่มคุณสมบัติเกี่ยวกับความชำนาญเฉพาะด้านไว้อีกประการหนึ่ง

References

Bank of Thailand. (2023). Supervision of specialized financial institutions. Retrieved June 30, 2023. https://www.bot.or.th/th/our-roles/financial-institutions/sfi-supervisions.html [In Thai]

Bank of Thailand. (2021). Credit card and personal loan debt reconciliation fair. Retrieved November 20, 2020. https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-0210213.html [In Thai]

Brams, S. (2016). Game Theory Political Scientist Steven Brams on cooperative games, the Prisoner’s Dilemma, and win-win solutions in our daily life. Retrieved February 23, 2020. https://serious-science.org/game-theory-7846

Colombo, G. F., & Shimizu, H. (2016). Litigation or Litigiousness? Explaining Japan’s “Litigation Bubble” (2006-2010). In Oxford University Comparative Law Forum, 4, 1-25.

ICHIBA, K. (2022). KIN-YÛ ADR--A New ADR System in the Japanese Financial Industry. Retrieved February 25, 2022. https://www.nishimura.com/sites/default/files/tractate_pdf/ja/jcaa_newsletter_ichiba.pdf

Johnson, H. (2023). National Debt Relief can help you settle your debts for less than you owe. National Debt Relief Review. Retrieved August 16, 2023. https://www.nerdwallet.com/article/finance/national-debt-relief-debt-settlement

Kenneth, C. (2009). Mediation and Meditation: The Deeper Middle Way. Retrieved January 20, 2017. https://www.mediate.com/mediation-and-meditation-the-deeper-middle-way/

Menkel-Meadow, C. (2001). Aha? Is Creativity Possible in Legal Problem Solving and Teachable in Legal Education?. Harvard Negotiation Law Review, 6, 97-98, Retrieved December 5, 2017. http://scholarship.law.georgetown.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1170&context=facpub

Nash, J. F. (1950). Equilibrium points in n-person games. Proceedings of the national academy of sciences, 36(1), 48-49.

Nicastro, S. (2020). National Debt Relief Review: Does Debt Settlement Work?. Retrieved February 12, 2022. https://www.nerdwallet.com/article/finance/national-debt-relief-debt-settlement

Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD). (2018). Household Debt. Retrieved February 25, 2022. https://www.oecd-ilibrary.org/content/data/f03b6469-en

Ostrom, E. (2005). Understanding Institutional Diversity. Princeton University Press.

Thanaboriboon, P. (2022). Mediation Concepts and Mediation Process for Consumer Cases of Loan in Thailand. Dunlaphaha, 69(1), 89-90 [In Thai]

Vayuparb, P. (2016). Consumer Protection Procedure. (3rd ed.). Krung Siam Publishing Company Limited. [In Thai]

Vitasek, K. (2017). Using Game Theory to Create Win-Win Supplier Agreements. Retrieved February 23, 2020. https://www.linkedin.com/pulse/using-game-theory-create-win-win-supplier-agreements-kate-vitasek

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29