การประเมินโครงการพัฒนาแอปพลิเคชัน “หิรัญฟู้ด” เพื่อส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าออนไลน์และทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการร้านอาหารในบริเวณชุมชนรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ธุรกิจชุมชน, ผู้ประกอบการ, ชุมชนแขวงหิรัญรูจี, แอปพลิเคชันบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแอปพลิเคชันหิรัญฟู้ดเพื่อส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าออนไลน์และทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในบริเวณชุมชนรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีกลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกร้านค้าแบบจับคู่ (Matching) โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือก: ที่ตั้ง (Location) ประเภทร้านค้า (Type) จากร้านค้าที่ขายอาหารบริเวณรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 60 ร้าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ 30 คน จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเป็นกลุ่มทดลอง (Treatment) ผู้ประกอบการ 30 คน จากร้านค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ (Comparisons) ลูกค้า จำนวน 100 คน จากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ และลูกค้าจำนวน 100 คน จากร้านค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้ 1. ค่าความถี่ร้อยละ (Percentage) ใช้วิเคราะห์ และอธิบายตัวแปรทางด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทร้าน ประเภทสินค้า กรรมสิทธิ์ร้านค้าประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันขายอาหารออนไลน์ และพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันขายอาหาร/สินค้าออนไลน์ รวมทั้งตัวแปรทางด้านพฤติกรรม 2. ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้วิเคราะห์ และอธิบาย ตัวแปรเกี่ยวกับทัศนคติของผู้ประกอบการและลูกค้าที่มีต่อโครงการพัฒนาแอปพลิเคชันหิรัญฟู้ดเพื่อส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าออนไลน์และทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในบริเวณชุมชนรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ดังนี้ คะแนนเฉลี่ย 4.21 - 5.00 แปลความว่าระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.41 – 4.20 แปลความว่า ระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 2.61 – 3.40 แปลความว่า ระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.81 – 2.60 แปลความว่า ระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.80 แปลความว่า ระดับน้อยที่สุด ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของผู้ประกอบการ ระยะที่ 1 ก่อนทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ดภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับระดับทัศนคติของผู้ประกอบการ ในระยะที่ 2 หลังจากที่ได้ทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด พบว่า มีทัศนคติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) มีระดับทัศนคติดีขึ้น ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Skills) สำหรับผู้ประกอบการในระยะที่ 2 หลังทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด (กลุ่มทดลอง) พบว่า ระดับทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีทักษะมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับระดับทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของกลุ่มเปรียบเทียบ (กลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่ค่าคะแนนเฉลี่ย (x̄) น้อยกว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการในการขายสินค้าออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด หลังทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด (กลุ่มทดลอง) พบว่า ระดับระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับระดับระดับความพึงพอใจของกลุ่มเปรียบเทียบ (กลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่ค่าคะแนนเฉลี่ย (x̄) น้อยกว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ระดับทัศนคติของลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับระดับทัศนคติ ของลูกค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเปรียบเทียบ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางจะเห็นได้ว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) มีระดับทัศนคติดีขึ้นและระดับความพึงพอใจของลูกค้าผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเปรียบเทียบ) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางจะเห็นได้ว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มทดลอง) มีระดับความพึงพอใจดีขึ้นหลังจากทดลองใช้แอปพลิเคชันหิรัญฟู้ด
References
Apidejpisarn, K. & Panitchpakdi, K. (2022). Communication potential for community development according rattakosin conservation and development plan: A case study thatian communication Bangkok metropolitan. Sarasatr, 5(3), 470-482. [In Thai]
Chonglaksamanee, C. (2021). Exposure to markerting communication tools and the decision making process of using food develivery via line man application. [Master Thesis, Thamasat University]. [In Thai]
Khatasombun, H. (2020). Community potential development to create sustainable economic foundations: Case study of Noen Sala Subdistrict, Krok Phra District, Nakhon Sawan Province. Journal of MCU Peace Studies, 8(2), 474-478. [In Thai]
Kiadrasamee, J. (2015). Factory affecting the decision making on purchasing products from the online application in Bangkok metropolitan region. [Unpublished Master’s Thesis, Thammasat University]. [In Thai]
Pasuntsirikhun, T. & Phungbangkruay, J. (2017). Attitudes Towards Online Purchasing of Products and Services in Chonburi Province. Burapha Journal of Business Management, 6(2), 30-42. [In Thai]
Rintarach, N. (2016). Development android application of e-Marketplace (Research Report). Rajabhat Maha Sarakham University. [In Thai]
Suttipongsakul, O. (2019). Influence of experience and satisfaction on loyalty and electronic word of mouth in the purchase of products through applications among consumers in the Bangkok Metropolitan Region. [Master Thesis, Rungsit University]. [In Thai]
Thanyarattanavanich, C. (2021). Factors affecting to decision making on purchasing products via application of customers in Nonthaburi province. Journal of Humanities and Social Science Rajapruk University, 7(1), 311-323. [In Thai]
Ungkanawin, K. (2018). Attitudes of consumer toward online businesses and services through online Chonburi. Journal of Administration and Management, 8(1), 173 -192. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.