ข้อผิดพลาดในการใช้คำคุณศัพท์ภาษาจีนประเภท “อารมณ์ความรู้สึก” ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คำสำคัญ:
คำคุณศัพท์ภาษาจีนประเภท “อารมณ์ความรู้สึก”, ลักษณะข้อผิดพลาด, สาเหตุข้อผิดพลาดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อผิดพลาด และวิเคราะห์สาเหตุความผิดพลาดของการใช้คำคุณศัพท์ภาษาจีนประเภท “อารมณ์ความรู้สึก” กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โปรแกรมวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้คำคุณศัพท์ประเภท “อารมณ์ความรู้สึก” จำนวน 50 ข้อ และคลังข้อมูลบทความภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 150,000 ตัวอักษรจีน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า ลักษณะข้อผิดพลาดของการใช้คำคุณศัพท์ภาษาจีนประเภท “อารมณ์ความรู้สึก” มีจำนวนการใช้ผิดทั้งหมด 423 ครั้ง และสามารถแบ่งออกเป็น 6 ชนิดความหมาย คือ 1) คำที่แสดงถึงความหมายด้านความสุข 2) คำที่แสดงถึงความหมายด้านอารมณ์โกรธ 3) คำที่แสดงถึงความหมายด้านอารมณ์โศกเศร้า 4) คำที่แสดงถึงความหมายด้านความกลัว และ 5) คำที่แสดงถึงความหมายด้านความเงียบ 6) คำที่แสดงถึงความหมายด้านความตื่นเต้น ซึ่งชนิดความหมายที่ผู้เรียนมีการใช้ผิดมากที่สุด คือ คำที่แสดงถึงความหมายด้านความสุข จำนวนการใช้ผิดทั้งหมด คือ 207 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 48.93 และชนิดความหมายที่ผู้เรียนมีการใช้ผิดน้อยที่สุด คือ คำที่แสดงถึงความหมายด้านความโกรธ จำนวนการใช้ผิดมีเพียง 9 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ลักษณะข้อผิดพลาดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) การใช้คำศัพท์ผิดพลาดที่อยู่ในชนิดความหมายประเภทเดียวกัน 2) การใช้คำศัพท์ผิดพลาดที่มีชนิดความหมายต่างประเภทกัน และสาเหตุการเกิดข้อผิดพลาด ประกอบด้วย 5 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1. อิทธิพลจากภาษาจีน แบ่งได้เป็น 3 ปัจจัย คือ 1) ผลกระทบจากคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันในภาษาจีน 2) ผลกระทบ จากคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันและโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่ต่างกันในภาษาจีน 3) ผลกระทบจากคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันแต่การใช้คำประกอบร่วมในภาษาจีนต่างกัน 2. อิทธิพลของภาษาแม่ แบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย 1) ผลกระทบจากการแปลความหมายของคำในภาษาไทย และ 2) ผลกระทบจากขอบเขตความหมายของคำในภาษาไทย
References
Cheng, J. (2011). Comparative Study on L2 Chinese Learner’s Confusable Words and Chinese Synonyms - Taking Psychological Verbs as Examples. [Doctoral of Linguistics and Apply Linguistics Program, Beijing Language and Culture University].
Jaiboon, C. (2018). Chinese Memory and Tteaching Strategies. Retrieved December 20, 2023. https://arts.dpu.ac.th/media/research
Jeangjai, S. (2009). The Analysis of Differences in Chinese Synonyms for Thai Learner. Journal of of Social Sciences & Humanities, 15(6), 1026 – 1036.
Lai, L. (2018). A study on the Confused Words in Chinese among Thai Learners. [Doctoral of International Chinese Education Program, Minzu University of China].
Royal Institute of Thailand. (2011). Royal Institute Dictionary. Royal Institute of Thailand.
Tungkawet, W. (2024). Characteristics of Error in the Use of Chinese Adjectives of “Emotions Feelings". Silpakorn University.
Zhang, B. (2007). Synonyms, Near-synonyms, and Confusional Words: A Shift in Perspective from Chinese to Interlanguage. Chinese Teaching in the World Journal, (3), 98-107.
Zhang, B.(2008). Confusing Words in Chinese Interlanguage for Second Language Learners and their Research Methods. Chinese Teaching in the World Journal, (6), 37-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.