ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจไทย-ลาว และมูลเหตุแห่งวิกฤติทางศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4

ผู้แต่ง

  • เชาวน์มนัส ประภักดี วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ไทย-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-ลาว, ลาว-การเมืองการปกครอง, การย้ายถิ่น, ศิลปวัฒนธรรมลาว

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาประเด็นความสัมพันธ์เชิงอนาจไทย-ลาว ในประวัติศาสตร์และมูลเหตุแห่งวิกฤติทางศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเด็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจไทย-ลาว เกิดขึ้นจาก 1) การแย่งชิงดินแดนและการขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนอื่น 2) การต่อต้านนโยบายการปกครองจากศูนย์กลางอาณาจักรสยาม และ 3) จิตสำนึกในการรวบรวมชาติให้กลับคืนมาอีกครั้งจากราชวงศ์เวียงจันทน์ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการต่อต้าน ขัดขืนต่ออำนาจและนโยบายการปกครองของอาณาจักรสยาม จากการศึกษาพบว่า ประเด็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าวข้างต้น เป็นต้นเหตุของการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนชาวลาวมายังสยาม การอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาของคนเชื้อสายลาวได้เข้ามาพร้อมกับศิลปวัฒนธรรมของลาว โดยเฉพาะ “แอ่วลาว เป่าแคน” เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบอย่างยิ่งของชาวไทย ทั้งในระดับประชาชนทั่วไปจนถึงระดับราชวงศ์แห่งสถาบันกษัตริย์ จนกระทั่งเกิดวิกฤติทางศิลปวัฒนธรรมการละเล่นในกิจกรรมต่างๆ ของสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงทรงมีพระบรมราชโองการประกาศห้ามมิให้มีการละเล่นศิลปวัฒนธรรมของชนชาวลาวในกิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวสยามอีกต่อไป

References

กรมศิลปากร. (2545). ลำดับกษัตริย์ลาว. นครราชสีมา : โรงพิมพ์โจเซฟ ปริ้นติ้ง.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2546). การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศพริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์

นคร พันธุ์ณรงค์. (2526). ประวัติศาสตร์ไทย สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ.

บังอร ปิยะพันธุ์. (2541). ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประทีป ชุมพล. (2525). พื้นเวียง : วรรณกรรมแห่งการกดขี่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บางกอกการพิมพ์.

ไพบูลย์ แพงเงิน. (2534). กลอนลำภูมิปัญญาของอีสาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

รัตนา โตสกุล. (2548). มโนทัศน์เรื่องอำนาจ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สมบัติ พลายน้อย. (2544). พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว : กษัตริย์วังหน้า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

สีลา วีระวงส์. (2539). ประวัติศาสตร์ลาว. สมหมาย เปรมจิตต์, ผู้แปล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

สุกรี เจริญสุข. (2538). ดนตรีชาวสยาม. ม.ป.ท. : ม.ป.พ. (เอกสารอัดสำเนา).

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2543). ประวัติศาสตร์ลาว 1779-1975. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธีระการพิมพ์.

เสาวภา ภาระพฤติ. (2522). ปัญหาการปกครองของไทยในประเทศราชหลวงพระบางและหัวเมืองลาว ระหว่างปี พ.ศ.2431-2446. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

เสทื้อน ศุภโสภณ. (2544). พระปิ่นเกล้าเจ้ากรุงสยาม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วัชรินทร์การพิมพ์.

อเนก นาวิกมูล. (2521). เพลงนอกศตวรรษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

อีแวนส์, แกรนท์. (2549). ประวัติศาสตร์สังเขปประเทศลาวประเทศกลางแผ่นดินเอเชียอาคเนย์. (ดุษฎี เฮย์มอนด์, ผู้แปล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-25