การวิเคราะห์บทละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ในฐานะวรรณกรรมเพื่อการแสดง

ผู้แต่ง

  • ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

บทละคร, วรรณกรรมการแสดง, พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาวิเคราะห์บทละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคลในฐานะวรรณกรรมเพื่อการแสดงโดยการวิจัยนี้เป็นการศึกษาจากเอกสารโดยศึกษาจากบทละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคลในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อปี พ.ศ. 2500 พระองค์ทรงมีความสามารถในการประพันธ์บทละคร โดยนิพนธ์ขึ้นมา 2 เรื่อง คือ ปันหยีมิสาหรัง ซึ่งดัดแปลงจากหนังสือแปลตำนานเรื่องอิเหนาดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และรุ่งฟ้าดอยสิงห์ ซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกัน ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้ผลการศึกษาพบว่า บทละครดังกล่าวมีคุณค่าในฐานะการเป็นวรรณกรรมเพื่อการแสดง โดยมีรายละเอียดคือคุณค่าในด้านของเนื้อหา คุณค่าในการสร้างตัวละครและคุณค่าด้านการใช้ภาษา และยังทำหน้าที่ในการสะท้อนค่านิยมและสังคมในสมัยนั้น ๆ รวมถึงเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้และส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบุคคลอีกด้วย

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2545). สื่อบันเทิง: อำนาจแห่งความไร้สาระ. กรุงเทพฯ: ออล อเบ้าท์ พริ้นท์.

เฉลิมเขตรมงคล, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2500). ปันหยีมิสาหรังและรุ่งฟ้าดอยสิงห์. กรุงเทพฯ: อักษรประเสริฐ.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต, (2557, กรกฎาคม - กันยายน). ปันหยีมิสาหรัง: บทละครเรื่องอิเหนาอีกสำนวนหนึ่งของไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 39(3), 214-236.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2494). พิธีไหว้ครู ตำราครอบโขนละคอน พร้อมด้วยตำนานและคำกลอนไหว้ครูละคอนชาตรี. กรุงเทพฯ: พระจันทร์.

นิดา มีสุข. (2543). วรรณคดีการละคร. สงขลา: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วีณา วีสเพ็ญ. (2549). วรรณคดีการละคร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2555). ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มติชน.

สุดารัตน์ กัลยา. (2540). การแสดงที่วังมังคละสถาน. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

เสาวนิต วิงวอน. (2555). วรรณคดีการแสดง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25