นางยุบลค่อม: บทบาทนางค่อมในละครใน เรื่องอิเหนา

ผู้แต่ง

  • เมศิณี มฆัษเฐียร สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุขสันติ แวงวรรณ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • จุลชาติ อรัณยะนาค สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

บทบาทนางค่อม, นางยุบลค่อม, ละครในเรื่องอิเหนา, การรำแบบนาฏศิลป์ไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้นำเสนอประวัติ วิเคราะห์องค์ประกอบการแสดงและกลวิธีการแสดงบทบาทนางยุบลค่อมในละครใน เรื่องอิเหนา โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผลการศึกษา พบว่า นางค่อมที่ปรากฏในละครใน เรื่องอิเหนาคือ นางยุบลค่อมเป็นนางกำนัลที่คอยรับใช้นางบุษบามีลักษณะหลังค่อมที่แตกต่างจากนางกำนัลคนอื่น มีพฤติกรรมที่ส่งผลต่อตนเองคือขาดความรอบคอบและขาดปัญญาในการแก้ปัญหา มีพฤติกรรมด้านดีที่รักษาสัจจะที่รับปากไว้กับอิเหนา องค์ประกอบสำคัญคือผู้แสดง เครื่องแต่งกาย บทละคร ดนตรีที่ใช้บรรเลง อุปกรณ์ ฉากประกอบการแสดง และกลวิธีการแสดงบทบาทนางยุบลค่อมที่มีการทรงตัวที่ผิดธรรมชาติ โดยการทำคอยื่นออกไปข้างหน้าและห่อไหล่ ใช้กระบวนท่ารำมาตรฐานแบบนาฏศิลป์ไทย กระบวนท่ารำเลียนแบบธรรมชาติ และการรำตีบทตามบทร้องประกอบการแสดงอารมณ์กลัว ร้องให้ ดีใจ กลวิธีดังกล่าวนี้ ผู้แสดงต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้จึงจะสามารถแสดงได้อย่างสมบทบาทและน่าชม

References

ชนิกานต์ กู้เกียรติ. (2540). การศึกษาวิเคราะห์นวนิยายของกฤษณา อโศกสินที่ได้รับรางวัล: พัฒนาการด้านแนวคิด ตัวละครและกลวิธีการประพันธ์. [ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2552). พระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่: การสร้างนิทานปันหยีให้เป็นยอดแห่งวรรณคดีบทละครใน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

นันทนา สาธิตสมมนต์. (2557). กลวิธีการแสดงบทบาทนางยักษ์แปลงในละครนอก. [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ประเมษฐ์ บุญยะชัย. (2545). ชีวประวัติคุณครูจำเรียง พุธประดับ ละครหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: กรีน พริ้นท์.

เปล่ง วงษ์สมบัติ. (2550). การศึกษาปัจจัยทางครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อสัมพันธภาพการครองชีวิตคู่ของคนพิการทางกาย หรือการเคลื่อนไหวในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].

เปิดตำนาน “ดอกลำเจียก”. (2565). สืบค้น 12 เมษายน 2565. จาก https://www.sanook.com/news/8402726/gallery/3289038/

ผจงลักษณ์ โสตศิริ. (2542). ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานต่อผู้ร่วมงานที่พิการ. [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2528). บทละครเรื่องอิเหนา เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

เมศิณี มฆัษเฐียร. (2563). รวมภาพนางยุบลค่อม: บทบาทนางค่อมในละครใน เรื่องอิเหนา. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รัจนา พวงประยงค์. ข้าราชการบำนาญ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (สัมภาษณ์, 7 เมษายน 2565).

รุ่งอรุณ แซ่อึ้ง. (2538). วิเคราะห์อารมณ์เศร้าของตัวละครในวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา และรามเกียรติ์. [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ลาลูแบร์, ซิมอน เดอ. (2557). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: ศรีปัญญา.

วรวรรณ พลับประสิทธิ์. ข้าราชการบำนาญ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (สัมภาษณ์, 7 เมษายน 2565).

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2531). พจนานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์

เสาวณิต วิงวอน. (2555). วรรณคดีการแสดง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.

แสง มนวิทูร. (2541). นาฏยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

อาภากร หนักไหล่. (2559). ตัวละครอัปลักษณ์ในวรรณคดีไทย. [ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร].

POBPAD. (2563). สืบค้น 15 มิถุนายน 2563, จาก https://www.pobpad.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24