ข้อจำกัดของการอุ้มบุญตามกฎหมายไทย: ศึกษากรณีผู้ที่มีสิทธิขอให้ดำเนินการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
คำสำคัญ:
คู่ชีวิต, คู่ชีวิตเพศเดียวกัน, อุ้มบุญบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อจำกัดของการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ในแง่มุมของผู้มีสิทธิขอให้ดำเนินการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน จากการศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ฯ พบว่าผู้ที่มีสิทธิดำเนินการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนได้หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าอุ้มบุญนั้น ได้แก่สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้เท่านั้น อันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ที่ประสงค์จะมีบุตรโดยการอุ้มบุญไว้อย่างแคบ ผลตามกฎหมายดังกล่าวไม่เพียงกระทบต่อสิทธิของผู้ที่ประสงค์จะให้มีการอุ้มบุญเท่านั้นแต่ยังมีผลถึงสิทธิของเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญด้วยเนื่องจากเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญที่มิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ฯ ย่อมไม่ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญภายใต้กฎหมายดังกล่าว เมื่อพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและแนวคิดเรื่องคู่ชีวิตในปัจจุบัน รวมถึงการเรียกร้องเรื่องการสมรสเท่าเทียมแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าควรมีการทบทวนเกี่ยวกับผู้ที่สามารถขอให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนให้ครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลที่มิใช่สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประสงค์จะสร้างครอบครัวอาทิ คู่ชีวิตเพศเดียวกัน ทั้งนี้ เงื่อนไขของบุคคลที่จะขอให้มีการตั้งครรภ์แทนอาจมีการกำหนดให้แตกต่างกันได้โดยยึดถือประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2558, 16 ธันวาคม). หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้หญิงอื่นที่มิใช่ญาติสืบสายโลหิตของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ. 2558.
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). ศาลให้หนุ่มญี่ปุ่น พ่อ ‘13 เด็กอุ้มบุญ’ รับกลับไปเลี้ยงดู. สืบค้น 8 มกราคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1209648
ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ไทย “อู่มดลูกโลก” สาวหิวเงินรับจ้างท้อง แฉญี่ปุ่นจ้างอุ้มบุญทิ้งลูก 13 คน. สืบค้น 10 กันยายน 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1770896/
ไทยรัฐออนไลน์. (2563). ย้อนคดีอุ้มบุญ สาวไทยรับจ้างตั้งครรภ์หวังเงินแสนดังกระฉ่อน สุดดรามา พรากลูก. สืบค้น 8 มกราคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1770716
บุญราศรี เกิดโชค. (2559). ปัญหาผลของสัญญาตั้งครรภ์แทนที่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2562). ตำรากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล Textbook on Private International Law: เรื่องจริงของชีวิตระหว่างประเทศของเอกชนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย True Story of International Life of Private Personsconcerning Thailand. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
แพทยสภา. (2540, 22 ตุลาคม). ประกาศแพทยสภาที่ 1/2540 เรื่อง มาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์.
แพทยสภา. (2545, 20 มิถุนายน). ประกาศแพทยสภาที่ 21/2545 เรื่อง มาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ฉบับที่ 2).
รักลูก. (2563). 6 วิธีผสมเทียมสำหรับคนมีลูกยากแต่อยากมีลูก. สืบค้น 5 กันยายน 2563, จาก https://www.rakluke.com/pregnancy-all/gettingpregnant/item/artificialinsemination.html/
ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต. สืบค้น 10 มกราคม 2564, จาก http://www.krisdika.go.th/detail-law-draft-of-the-cabinet-approved-the-principle?billCode=188&type=billDetail
ริญญาภัทร์ ณ สงขลา. (2558). การรับรองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].
วัลภา ทับสุวรรณ. (2559). การนำการค้ามนุษย์ด้านแรงงานมาเป็นเงื่อนไขในการค้าระหว่าง ประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีผลกระทบต่อกฎหมายไทย. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
Adam K.D., & Victoria H., (2020). Same-sex marriage, one year later. Retrieved 10 January 2022, from https://www.taipeitimes.com/News/editorials/archives/2020/05/17/2003736539
Center for American Progress. (2022). Guide to State Surrogacy Laws. Retrieved 24 June 2022, from https://www.americanprogress.org/article/guide-to-state-surrogacy-laws/
Glauert, G. (2019). Taiwan emerges as new market for LGBT+ surrogacy after gay marriage law. Retrieved 10 January 2022, from https://www.reuters.com/article/us-taiwan-lgbt-familyplanning-feature-tr-idUSKBN1YR02P
Human Fertilisation and Embryology Act. Retrieved 20 January 2022, from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2008/22/contents
Laws Monitoring (2565). เทียบชัด ๆ ร่างพ.ร.บ.แก้ประมวลกฎหมายแพ่ง#สมรสเท่าเทียม ร่างพ.ร.บ. คู่ชีวิต ต่างกันยังไง? สืบค้น 14 มิถุนายน 2565, จาก https://ilaw.or.th/node/6169
Marriage (Same Sex Couples) Act 2013. Retrieved 20 January 2022, from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2013/30/contents/enacted/data.htm
Meezan, W., & Rauch, J. (2005). Gay Marriage, Same-Sex Parenting, and America’s Children. The Future of Children. 15(2), 97-115.
NH Stat Section 168-B:1 Definitions. (2022). Retrieved 20 January 2022, from https://casetext.com/statute/new-hampshire-revised-statutes/title-12-public-safety-and-welfare/chapter-168-b-surrogacy/section-168-b1-definitions
Rik G. (2019). Taiwan emerges as new market for LGBT+ surrogacy after gay marriage law. Retrieved 10 January 2022, from https://www.reuters.com/article/us-taiwan-lgbt-familyplanning-feature-tr-idUSKBN1YR02P
Section 7960 (c) of California Family Code. Retrieved 20 January 2022, from https://leginfo.legislature.ca.gov/faces/codes_displayText.xhtml?lawCode=FAM&division=12.&title=&part=7.&chapter=&article=
The Surrogacy Arrangement Act 1985. Retrieved 20 January 2022, from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/1985/49
Uniform parentage Act Sec. 160.754 (b). Retrieved 20 January 2022, from https://statutes.capitol.texas.gov/Docs/FA/htm/FA.160.htm
Wilson, R.A. (2014). Same sex Marriage Comes to Illinois. Retrieved 24 June 2022, from https://www.isba.org/ibj/2014/08/same-sexmarriagecomesillinois
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.