ศาลกีฬาฟุตบอลของฟีฟ่า

ผู้แต่ง

  • ปีดิเทพ อยู่ยืนยง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ศาลกีฬาฟุตบอล, กระบวนการระงับข้อพิพาท, ฟีฟ่า

บทคัดย่อ

การบริหารปกครองกีฬาฟุตบอลสากลประกอบไปด้วยระบบการวางระเบียบและกลไกกํากับตนเองของกีฬาฟุตบอลสากลที่ถูกกำหนดเอาไว้โดยฟีฟ่า กฎสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติของฟีฟ่าได้วางหลักเกณฑ์ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถาบันต่าง ๆ ของฟีฟ่า ซึ่งสมาชิกของฟีฟ่า (เช่น สหภาพสมาคมฟุตบอลระดับภูมิภาคหรือสมาคมกีฬาฟุตบอลระดับชาติ) ต้องยินยอมผูกพันปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในการปกครองควบคุมกีฬาฟุตบอลนานาชาติที่กฎสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติของฟีฟ่าได้กำหนดเอาไว้ การกํากับตนเองของฟีฟ่าอย่างอิสระได้สร้างหลักการว่าด้วยกระบวนการระงับข้อพิพาทของฟีฟ่าเองในทำนองที่เป็นอิสระจากองค์กรของรัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ เหตุนี้เองการระงับข้อพิพาทตามกฎระเบียบของฟีฟ่าจึงกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่เกิดขึ้นมาจากการกำกับตนเองของกีฬาฟุตบอลสากลโดยฟีฟ่า แล้วสมาชิกของฟีฟ่ายินยอมผูกพันให้ศาลกีฬาฟุตบอลและแผนกคดีต่าง ๆ ในศาลกีฬาฟุตบอลมาเป็นองค์กรระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในกีฬาฟุตบอลสากล ศาลกีฬาฟุตบอลและแผนกคดีต่าง ๆ ในศาลกีฬาฟุตบอลปฏิบัติงานในรูปแบบที่เป็นกระบวนการยุติธรรมอิสระเพื่อระงับข้อพิพาทในกีฬาฟุตบอล โดยมีอำนาจทำคำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันต่อวงการกีฬาฟุตบอลสากล ในการปฏิรูปองค์กรระงับข้อพิพาทของฟีฟ่าในปี 2021 ฟีฟ่าได้บัญญัติกฎวิธีสบัญญัติว่าด้วยศาลกีฬาฟุตบอล (กฎสบัญญัติ) ซึ่งได้สร้างรูปแบบวิธีพิจารณาความใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น บทความฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์กลไกของศาลกีฬาฟุตบอลของฟีฟ่า รวมทั้งกระบวนการระงับข้อพิพาทในกีฬาฟุตบอลระหว่างคู่ความกับการปรับใช้กฎสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติของฟีฟ่าที่เกี่ยวข้อง

References

Bondulich, J. R. (2016). Rescuing The “Supreme Court” of Sports: Reforming The Court of Arbitration for Sport Arbitration Member Selection Procedures. Brooklyn Journal of International Law, 42(1), 275-328.

Casini, L. (2011). The Making of a Lex Sportiva by the Court of Arbitration for Sport. German Law Journal, 12(5), 1317-1340.

Cazotto, G. , Fronzaglia, M. & Racy, J. (2022) Institutional Aspects of FIFA Governance and Its Impact on International Relations. American Journal of Industrial and Business Management, 12, 824-839.

Chemor, F.M. (2021). Article 18bis of the FIFA Regulations on the Status and Transfer of Players: Redefining the influence standard. ECA Legal Journal, 1(1), 6-15.

Fédération Internationale de Football Association. (2021). Football Tribunal. Retrieved July 5, 2022. https://www.fifa.com/legal/football-tribunal

Fédération Internationale de Football Association. (2021). Judicial bodies. Retrieved July 5, 2022. https://www.fifa.com/legal/judicial-bodies

Fédération Internationale de Football Association. (2021). Procedural Rules Governing the Football Tribunal Edition October 2021. Fédération Internationale de Football Association.

Fédération Internationale de Football Association. (2021). FIFA Statutes May 2021 edition. Fédération Internationale de Football Association.

Gardiner, S. (2006). Sports law. (3rd ed.). Cavendish Publishing.

Gregory, I. (2019). Football intermediaries and self‑regulation: the need for greater transparency through disciplinary law, sanctioning and qualifying criteria. The International Sports Law Journal, 19(3-4), 1-17.

Parliamentary Assembly of the Council of Europe. (2015). The Reform of Football Governance. Parliamentary Assembly of the Council of Europe.

Ruggie, G. J. (2016). “For the Game. For the World.” FIFA and Human Rights. Mossavar-Rahmani Center for Business & Government Harvard Kennedy School.

Schwab, B. (2017). “When We Know Better, We Do Better.” Embedding the Human Rights of Players as a Prerequisite to the Legitimacy of Lex Sportiva and Sport’s Justice System. Maryland Journal of International Law, 32(1), 4-67.

Sports Integrity Initiative. (2021). FIFA Football Tribunal set to enter into operation. Retrieved July 7, 2022. https://www.sportsintegrityinitiative.com/fifa-football-tribunal-set-to-enter-into-operation/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-21