นางบุษมาลี: บทบาทตัวละครหญิงในละครนอกแบบหลวง เรื่องพระสมุท

ผู้แต่ง

  • นพวดี ไชยรัตน์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ชนัย วรรณะลี คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พิมณภัทร์ ถมังรักษ์สัตว์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ตัวละครหญิง, บทบาท, ละครนอกแบบหลวง

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอประวัติ คุณลักษณะ และบทบาทของนางบุษมาลี โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา และบทละครเรื่องพระสมุท พระราชนิพนธ์ในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ผลการศึกษาพบว่านางบุษมาลี เป็นพระราชธิดาบุญธรรมของท้าวรณจักรและนางวรรณสูร มีคุณลักษณะสิริโฉมงดงามทั้งหน้าตาและรูปร่าง มีสำเนียงเสียงไพเราะ อันเป็นลักษณะของหญิงสาวในอุดมคติ ทั้งเป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี โดยอาศัยกลมารยาหญิงเพื่อรักษาตนและคนรักให้รอดพ้นจากอันตรายที่เกิดขึ้นอย่างกล้าหาญ แสดงให้เห็นว่านางบุษมาลีได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี จึงคิด เจรจา และวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งต่างจากสังคมในสมัยอดีต ที่ผู้หญิงมักได้รับการปกป้องจากผู้ชาย

References

กรมศิลปากร. (2510). บทละครพระมะเหลเถไถและอุณรุฑร้อยเรื่องของคุณสุวรรณ. พระนคร: เฟื้องอักษร.

กรมศิลปากร. (2545). พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ดอกเบี้ย.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2554). องค์ประกอบของศิลปะ Composition of Art. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2508). ตำนานละครอิเหนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2534). ตัวละครหญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ศิลปวัฒนธรรม. (2562). กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ. สืบค้น 29 เมษายน 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_26053

เสาวณิต วิงวอน. ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (สัมภาษณ์, 8 กุมภาพันธ์ 2565).

Wellek, R & Warren,A. (1970). Theory of Literature: A Peregrine Book. London: Cox & Wyman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24