การสื่อสารอัตลักษณ์สินค้ากระเป๋าโอทอปของกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ

ผู้แต่ง

  • ดารินทร์ คำพันธ์ นิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง นิเทศศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

การสื่อสารอัตลักษณ์, อัตลักษณ์กระเป๋าโอทอป, ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการสื่อสารอัตลักษณ์และความชื่นชอบกระเป๋าโอทอปของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลโดยนำเสนอผลของวัตถุประสงค์ข้อแรกคือ เพื่อศึกษาการสื่อสารอัตลักษณ์สินค้ากระเป๋าโอทอปของกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการโอทอป และ 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกระเป๋า จาก 3 ชุมชน ได้แก่ กลุ่มรังไหมประดิษฐ์ จังหวัดสระบุรีกลุ่มตัดเย็บกระเป๋าผ้าไหม จังหวัดกาฬสินธุ์ และกลุ่มแปรรูปผ้าย้อมสีธรรมชาติ จังหวัดสกลนคร ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การสื่ อสารอัตลักษณ์สินค้ากระเป๋าโอทอปแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1) อัตลักษณ์กระเป๋าโอทอปเกิดจากที่มาของบริบทชุมชนผสานกับอัตลักษณ์ประจำถิ่นในชุมชน จนทำให้เกิดตัวตนของกระเป๋าที่แตกต่างกัน ซึ่งอัตลักษณ์ที่สอดคล้องกันของกระเป๋า โอทอปจากทั้ง 3 ชุมชนคือใช้วัสดุที่มาจากท้องถิ่นของตนเอง ต้องเป็นกระเป๋ารักษ์โลก รูปทรงต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะและต้องพกพาสะดวก ส่วนที่ 2) การสื่อสารอัตลักษณ์สินค้ากระเป๋าโอทอปที่สำคัญได้แก่การใช้วิธีการและเทคนิคผ่านเครื่องมือการสื่อสารการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์รวมถึงการจัดกิจกรรม (Event) และการสร้างเรื่องราว (Content) ส่วนที่ 3) ความต้องการการพัฒนาและการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านองค์ความรู้เรื่องการพัฒนา การจัดการด้านการตลาดเพื่อการส่งออกและการสนับสนุนงบประมาณและเทคโนโลยีจากภาครัฐ

References

โกวิท ธารีรัตนาวิบูลย์. (2561). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันในการขายและกระจายสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ชของผู้ประกอบการรายย่อยไทยสู่ตลาดโลก. เอกสารประกอบการสอน วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60.

ณฐพล ธรรมสมบัติ. (2557). การสื่อสารแบรนด์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของบุรุษในโฆษณาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าชายกรณีศึกษาแบรนด์นีเวีย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ณัฐวรรณ นาคประกาศ. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด กรณีศึกษา บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น].

ยุพิน พึ่งภิญโญ. (2551). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของร้านอาหารไทยในกรุงโตเกียว. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สมสุข หินวิมาน. (2554). ทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมศึกษา. ใน ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร (หน่วยที่ 8-15) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

สราวุธ อนันตชาติ. (2549, กรกฎาคม - ธันวาคม). การสื่อสารการตลาดในกระแสโลกาภิวัตน์: สถานภาพและองค์ความรู้ปัจจุบัน. วารสารนิเทศศาสตร์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). 24(1), 69-118.

สุธินี ฉัตรธารากุล. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าและปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้อตราสินค้าแฟชั่นดีไซเนอร์ไทย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วีระพันธ์ อะนันชัยธวัช. (2561, มกราคม - มีนาคม). การสื่อสารการตลาดผ่านการสร้างสรรค์เรื่องราวโอทอปกลุ่มผ้าจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(1), 252-265

อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์. (2561). นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับสตรีสูงวัย. [ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Duncan, T., & Thomas, R. (2005). Principles of Advertising & IMC. (2nd ed.). New York: Irwin.

Kotler, P. (2003). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Prentice- Hall.

Schermerhorn, J. R. (2000). Management. (7th ed). New York: John Wiley & Sons.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2004). Consumer Behavior. (8th ed.). Upper Saddle River, N.J: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08