ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการยอมรับการทำนาเกษตรอินทรีย์ในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อรวรรณ ศิริวงศ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความคิดเห็นของเกษตรกร, การยอมรับการทำนาเกษตรอินทรีย์, อำเภอหนองฮี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการยอมรับการทำนาเกษตรอินทรีย์ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการยอมรับการทำนาเกษตรอินทรีย์ ในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ดกับปัจจัยส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือเกษตรกรที่ทำนาในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 370 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ใช้ในครั้งนี้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยจากกลุ่มเกษตรกรที่ทำนาจำนวน 370 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 246 คน คิดเป็นร้อยละ 66.5 มีอายุ 51 - 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 39.7 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 209 คน คิดเป็นร้อยละ 56.5 มีเนื้อที่ในการใช้ทำนาส่วนใหญ่ 6 - 10 ไร่ จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 28.9 มีประสบการณ์อบรมเกษตรอินทรีย์จำนวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 54.3 และมีผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 500 - 600 กิโลกรัมต่อไร่จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 46.5 ระดับความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการยอมรับการทำนาเกษตรอินทรีย์ในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ดภาพรวมมีการยอมรับอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง และเมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอนการยอมรับพบว่า ขั้นรู้หรือขั้นรับรู้อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ขั้นสนใจอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งขั้นประเมินค่าอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ขั้นทดลองอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก และขั้นการยอมรับอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งประกอบกับการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการยอมรับส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียของการทำเกษตรอินทรีย์เนื่องจากการทำนาเกษตรอินทรีย์ยังมีปัญหาและอุปสรรคระยะยาวของการทำนาและที่สำคัญคือเรื่องของจำนวนของผลผลิต ราคาและตลาดที่รองรับผลผลิตที่ได้จากเกษตรอินทรีย์ จากผลของการวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำนาเกษตรอินทรีย์บ่อยครั้งพร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ทั่วถึงเพื่อมีโอกาสได้เรียนรู้และร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม ทำนาเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้องมีการจัดสร้างอ่างเก็บน้ำส่วนรวม เช่นเดียวกับน้ำชลประทานเป็นการรองรับน้ำฝนเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีต่อการลดปัญหาความแห้งแล้งและควรมีผู้นำที่ต้องช่วยจัดตั้งสหกรณ์ศูนย์กลางรับซื้อข้าวอินทรีย์ เพื่อนำไปขายต่อในตลาดเกษตรอินทรีย์ พร้อมชี้แจงราคาตลาดรับซื้อข้าวอินทรีย์อย่างชัดเจน และแสดงถึงผลกำไรที่มีมากกว่าเกษตรเคมีอย่างถูกต้อง

References

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. (2561). ระบบฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์. สืบค้น 12 มิถุนายน 2562, จาก http://organic.dit.go.th/News.aspx?id=223

ทองพูน กองจินดา. (2556). การยอมรับแนวคิดเกษตรอินทรีย์ในทัศนะของเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลคมบาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. [ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].

ศิริพร เมืองแก้ว. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรตําบลสันป่ายาง อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้].

โสภณ ศรีบาง. (2544). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวิธีการผลิตแบบข้าวอินทรีย์และแบบข้าวปลอดสารพิษ ในอําเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้น 4 มิถุนายน 2562, จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file%20Download/Report%pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-07