งานนมัสการหลวงพ่อเพชรและสมโภชเมืองพิจิตร: องค์ประกอบและบทบาทของพิธีกรรม

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ สุธรรมดี สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชนนิกานต์ ยศปัญญา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุพรรณธิกา ประดิษฐ์สอน สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • มนัสวี หิมพานต์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • มนัสวี หิมพานต์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

หลวงพ่อเพชร, งานนมัสการหลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร, บทบาทของพิธีกรรม

บทคัดย่อ

งานประเพณีนมัสการหลวงพ่อเพชรและสมโภชเมืองพิจิตรเป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของพิธีกรรม 2) ศึกษาบทบาทของพิธีกรรม โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของพิธีกรรม คือ หลวงพ่อเพชร เพราะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์กลางของงาน และวัดท่าหลวงที่ประดิษฐาน องค์หลวงพ่อเพชรเป็นพื้นที่หลักในการจัดงาน ลำดับของพิธีกรรมที่สำคัญได้แก่ พิธีบวงสรวงหลวงพ่อเพชร พิธีเสี่ยงทายดวงเมืองพิจิตร ขบวนแห่รถบุปผาชาติ พิธีถวายบัวพุทธบูชา และพิธีประทีปนาวาบูชาหลวงพ่อเพชรพิธีเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อว่าเมืองพิจิตรเป็นดินแดนแห่งพุทธธรรมและชาวเมืองมีศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า งานประเพณีนมัสการหลวงพ่อเพชรและสมโภชเมืองพิจิตรมีบทบาทสำคัญต่อจังหวัดพิจิตรหลายประการ ได้แก่ บทบาทด้านความบันเทิง บทบาทในการสร้างขวัญกำลังใจ บทบาทในการสร้างความสามัคคีและการร่วมแรงร่วมใจ บทบาทในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจ และบทบาทในการสืบสานตำนานท้องถิ่นเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชาวพิจิตร ซึ่งบทบาทเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจังหวัดพิจิตร อีกทั้งยังเป็นงานที่ยกระดับให้จังหวัดพิจิตรเป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย

References

จังหวัดพิจิตร. (2555). ศูนย์ร่วมใจหลวงพ่อเพชร. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก http://www.phichit.go.th/phichit/index.php/about/campaign/12-campaign/15-petch.

จารวี มั่นสินธร. (2547). การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง “ดอกบัว” ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์. (2554). ลัทธิพิธีการนับถือเจ้าแม่สองนางกับชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วรพันธุ์ สุวัณณุสส์. ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร. (11 มกราคม 2562). สัมภาษณ์.

สารภี ขาวดี. (2559). ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์: การประกอบสร้างและบทบาท ของประเพณีประดิษฐ์. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สุกัญญา สุจฉายา, บรรณาธิการ. (2549). พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง: บทบาทของคติชนกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา สมุทคุปติ์ และพัฒนา กิติอาษา. (2533). สัญลักษณ์สำคัญในบุญบั้งไฟ: การวิเคราะห์และการตีความหมายทางมานุษยวิทยา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิจิตร. (2563). พานพุ่มดอกบัวที่อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพิจิตรนำแห่รอบเมืองเพื่อถวายแด่หลวงพ่อเพชร. [ภาพถ่าย]. พิจิตร: สำนักงานประชาสัมพันธ์ จังหวัดพิจิตร.

สำนักงานสถิติจังหวัดพิจิตร. (2563). รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดงาน “นมัสการหลวงพ่อเพชร และสมโภชเมืองพิจิตร” ประจำปี 2563. พิจิตร: สำนักงานสถิติจังหวัดพิจิตร.

อภิวัฒน์ สุธรรมดี. (2560). ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมในสังคมไทยร่วมสมัย: พลวัตของตำนาน ความเชื่อและพิธีกรรม. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

Bascom, W. (1965). Four Functions of Folklore. In Alan Dundes (ed.). The Study of Folklore, (pp. 279-298). New Jersey: Prentice-Hall.

Turner, V. (1967). The Forest of Symbol: Aspects of Ndembu Ritual. U.S.A.: Cornell University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-05