แนวคิดที่ได้ในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยผ่านบทสวดโพชฌังคปริตร

ผู้แต่ง

  • ธนันท์พัชร อัศวเสมาชัย สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

บทสวดโพชฌังคปริตร, การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, นาฏยศิลป์ร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทสวดโพชฌังคปริตรเป็นบทสวดที่มีความเชื่อในการปัดเป่าขจัดโรคภัยไข้เจ็บที่ผู้คนในสังคมกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 (Covid-19) ผ่านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยอาศัยแนวคิดเพื่อประกอบสร้างผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยผ่านบทสวดโพชฌังคปริตร มีวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อค้นหาแนวคิดที่ได้รับภายหลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยผ่านบทสวดโพชฌังคปริตร โดยศึกษาถึงความหมายนิยามศัพท์จะมีความหมายเพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยฉบับนี้เกิดความเข้าใจตรงกัน ได้แก่ นาฏยศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์ นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ แนวคิดศิลปะร่วมสมัย ทฤษฎีทัศนศิลป์ อิทธิพลของแนวคิดร่วมสมัยที่มีต่อศิลปะและนาฏยศิลป์ ผู้วิจัยได้แนวคิดหลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 6 ประเด็น 1) แนวคิดเกี่ยวกับบทสวดโพชฌังคปริตร 2) แนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 3) แนวคิดนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 4) แนวคิดสัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) แนวคิดความคิดหลากหลายในงานนาฏยศิลป์ และ 6) แนวคิดและทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่จะสามารถเป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยชิ้นอื่นได้ และเห็นควรว่าสามารถนำบทสวดหรือหลักธรรมใด ๆ มาสร้างสรรค์การแสดงก็ได้ แต่ต้องอยู่ตามหลักเหตุและผลจากข้อมูลที่ได้รวบรวมมา

References

กฤติยา กาวีวงศ์ และมนุพร เหลืองอร่าม. (2558). โครงการรวบรวมบทความและบทวิจารณ์เกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

กมล โพธิเย็น. (2562, มกราคม - มิถุนายน). ความคิดสร้างสรรค์: พรสวรรค์ที่ครูควรสรรค์สร้างให้ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 17(1), 9-27.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2558). ศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญแก้ว กิจเจริญ. (2558). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาพท่าเต้นของนราพงษ์ จรัสศรี. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

จตุรัตน์ กีรติวุฒิพงศ์. (2558). สุนทรียภาพของทัศนธาตุทางทัศนศิลป์: ความบันดาลใจโนรา. (รายงานวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ชญาน์วัต ปัญญาเพชร. (2558, มกราคม - มิถุนายน). ศิลปะร่วมสมัยไทยภายใต้แนวคิดหลังอาณานิคมในทศวรรษที่ 1990. วารสารวิจิตรศิลป์, 6(1), 86-127.

ณรัฐวรรณ ถิระวราวิสิฐ. (2559). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ตามแนวคิดสัมมาทิฏฐิ. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ธนันท์พัชร อัศวเสมาชัย. (2564). ภาพการออกแบบลีลาที่มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของร่างกาย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏยศิลป์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ธนันท์พัชร อัศวเสมาชัย. (2563). พื้นที่แสดงที่ไม่จำเพาะแสดงในโรงละครแต่สามารถนำไปแสดงที่ใดก็ได้. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ธนันท์พัชร อัศวเสมาชัย. (2564). ภาพการใช้ท่าทางในชีวิตประจำวัน การด้นสด การด้นแบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เข้ามาใช้พัฒนาท่าทางการเคลื่อนไหวให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ธนันท์พัชร อัศวเสมาชัย. (2564). ภาพการใช้กระจกเงาในการสื่อถึงจิตใจและการเลือกใช้สีแดงสีขาวในการออกแบบเครื่องแต่งกาย. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2561). ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย: ตะวันตกและไทย. กรุงเทพฯ: J Print 94.

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์, ปริญญา ขาวผ่อง และอภิวัฒน์ สุดสาคร. (2555). ปัจจัยความสำเร็จที่มีต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินไทย: กรณีศึกษาตลาดศิลปะร่วมสมัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ชิคาโก ประเทศ สหรัฐอเมริกา. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

Lookhin. (2008). โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการ. สืบค้น 12 สิงหาคม พ.ศ.2563, จาก https://www.unzeen.com/article/437/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-15