การมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีบ้านต้นโพธิ์ จังหวัดปทุมธานี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • กันตชา ศรีอยุธย์ คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • องค์ บรรจุน คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี, การมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยว, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านต้นโพธิ์ในฐานะชุมชนโอทอปนวัตวิถี 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนโอทอปนวัตวิถี บ้านต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วิธีการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้หลักการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านต้นโพธิ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานีและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนาแบบกลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงการจัดตั้งโครงการชุมชนโอทอปนวัตวิถีแต่ไม่ใช่ประชาชนทุกคนที่มีส่วนร่วมในโครงการนั้นเมื่อพิจารณาตามรูปแบบการมีส่วนร่วม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจด้านการดำเนินงาน ด้านการรับผลประโยชน์และด้านการประเมินผลมีเพียงประชาชนบางส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการโดยจะมีผู้ใหญ่บ้านจะเป็นประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐเป็นหลักแล้วจึงมากระจายข้อมูลให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบ จากแบบสอบถาม พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20 ปี - 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 บาท - 20,000 บาทได้รับข้อมูลท่องเที่ยวของชุมชนทาง เพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อพักผ่อนหรือท่องเที่ยว ส่วนมากเดินทางในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และใช้จ่ายต่อการท่องเที่ยวต่ำกว่า 1,000 บาท ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อกิจกรรมภายในชุมชนโดยรวม ดังนี้ ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงชุมชนท่องเที่ยวและด้านองค์ประกอบของการบริการภายในชุมชนท่องเที่ยว ระดับความคิดเห็นดีมาก และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในชุมชนท่องเที่ยวระดับความคิดเห็นดีและการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อกิจกรรมภายในชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีบ้านต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เพศและอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นในภาพรวมไม่แตกต่างกันแต่ผู้ตอบแบบสอบถามที่ระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นในภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนโอทอปนวัตวิถี บ้านต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านของการท่องเที่ยวแก่ประชาชนและพัฒนาศักยภาพประชาชนเพื่อให้ประชาชนภายในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมและสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ผู้นำชุมชนควรกระจายงานสู่คณะกรรมการหรือลูกบ้านให้มากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายงานให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากขึ้น และชุมชนควรออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อตอบรับความต้องการของนักท่องเที่ยวและเพิ่มความหลากหลายด้านรูปแบบกิจกรรมและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลายบนพื้นฐานของทรัพยากรภายในชุมชนและให้มีความเหมาะสมกับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. สืบค้น 25 กันยายน 2563, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER051/GENERAL/DATA0000/00000042.PDF

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ/กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กุลจิรา เสาวลักษณ์จินดา. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการ แหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี].

ณิชาภัทร สุรวัฒนานนท์. (2562). การท่องเที่ยวกับบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ฮีโร่จำเป็นหรือ ฮีโร่ตัวจริง?. สืบค้น 12 กันยายน 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_29Oct2019.aspx/

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ธนบูรณ์ ตรีวารี. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณีแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นาฏสุดา เชมนะสิริ. (2555). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว = Tourism Industry. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

วิชชญะ น้ำใจดี. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์. (2549). การมีส่วนร่วมของชุมชนและแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม: กรณีศึกษาตำบลหนองตะพาน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. New York: John Wiley and Sons.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. New York: World Developments.

Cooper, C. & Boniface, B. G. (1998). Geography of Travel and Tourism. UK: Butterworth Hheinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-10