การศึกษาบทบาทหน้าที่ของบทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย อภิวันท์สนอง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หทัยรัตน์ ทับพร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อัควิทย์ เรืองรอง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่, บทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ, การพัฒนามนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของบทเพลงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อพัฒนามนุษย์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลคือบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2489 ถึงปัจจุบัน จำนวน 127 บทเพลง วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการพรรณนาความ และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ผลการวิจัยพบว่า บทบาทและหน้าที่ของบทเพลงเมื่อพิจารณาจากเนื้อหา มี 5 ประการ คือ 1) บทบาทด้านการบันทึกเหตุการณ์สำคัญ การรักษาปทัสถานของบริบทสังคมวัฒนธรรม สะท้อนถึงเหตุการณ์และแนวประพฤติปฏิบัติของสังคมและชุมชนที่ดียังได้รับการซ้ำ ย้ำ ทวนอยู่เสมอ 2) บทบาทด้านการสร้างความจรรโลงใจแก่คนฟัง เห็นความมีศิลปะในจิตใจ สะท้อนจินตนาการและความมีสุนทรียะของมนุษย์ 3) บทบาทด้านการให้การศึกษา ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สะท้อนถึงพระจริยวัตร และพระราชกรณียกิจในพระองค์ นำไปสู่ความเข้าใจชีวิต จิตใจ และบริบทสังคมวัฒนธรรมได้ดีขึ้น 4) บทบาทด้านการเสริมสร้างความสามัคคี มีการโน้มน้าวใจให้ร่วมกันทำความดี การกระตุ้นให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจ การร่วมมือร่วมใจกันในการตอบแทนความดี 5) บทบาทด้านการส่งเสริมความคิดและสติปัญญา ตอบสนองความต้องการในจิตใจ การค้นพบทางออกของปัญหาโดยดูจากบริบทที่เปลี่ยนไป

References

กรด มัติโก. (2559). The Guitar Mag ฉบับพิเศษ: บทเพลงของพ่อหลวง. กรุงเทพฯ: วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). บทเพลงจากดวงใจแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระผู้สถิตย์ในหทัยราษฎร์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กำพล อดุลวิทย์ สมศักดิ์ วิราพร และรุ่งเจริญ กาญจโนมัย. (2530). คีตมหาราชสดุดี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ.

ขนิษฐา จิตชินะกุล. (2545). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

คมชัดลึกออนไลน์. (2559). ‘บิ๊กแอส-ตูน-เมธี’ ถ่ายทอดเพลง ‘ลูกขอสัญญา’. สืบค้น 25 มิถุนายน 2563. จาก https: //www.Komchadluek.Net/News/Ent/246917

ชนะ เสวิกุล. ผู้ประพันธ์บทเพลง. (สัมภาษณ์, 10 สิงหาคม 2563).

ตรัย ภูมิรัตน์. ผู้ประพันธ์บทเพลง. (สัมภาษณ์, 12 กรกฎาคม 2563).

นิติพงษ์ ห่อนาค. ผู้ประพันธ์บทเพลง. (สัมภาษณ์, 29 สิงหาคม 2563).

พรลพัชร นรารัตน์วันชัย. ผู้ประพันธ์บทเพลง. (สัมภาษณ์, 18 กรกฎาคม 2563).

มาเซน อาลี ชาห์. ผู้ประพันธ์บทเพลง. (สัมภาษณ์, 29 สิงหาคม 2563).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ณ เพชรสำนักพิมพ์.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชระ สินธุประมา. (2552). ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมในมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุมานราชธน, พระยา. (2546). การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ศยาม.

อัควิทย์ เรืองรอง. (2552). การวิเคราะห์แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศจากพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

อารี สุทธิพันธุ์. (2533). ประสบการณ์สุนทรียะ. กรุงเทพฯ: แสงศิลป์การพิมพ์.

เอนก นาวิกมูล. (2550). เพลงนอกศตวรรษ. กรุงเทพฯ: มติชน.

Bascom, W. R. (1965). Four Functions Of Folklore. In The Study Of Folklore, (19th Ed.). California: Prentice-Hall.

Hamilton, A. (2007). Aesthetics And Music. Auckland: The University of Auckland.

Schroeder, M. (2008). Value Theory. Retrieved 27 June 2020. From https: //Plato.Stanford.Edu/ Entries/Value-Theory/

Velasquez, M., Andre, C., Shanks, T., S.J., & Meyer, M.J. (2010). What Is Ethics? Retrieved 27 June 2020. From https: //www.Scu.Edu/Ethics/Ethics-Resources/Ethical-Decision-Making/What-Is-Ethics/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25