ตลกลิเก: กลวิธีและหาสยรสในการแสดง
คำสำคัญ:
พยนต์ แก้วใย, กลวิธี, ตลกลิเก, หาสยรส, การแสดงบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง ตลกลิเก: กลวิธีและหาสยรสในการแสดงมีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงตลกและการแสดงตลกลิเกและเพื่อวิเคราะห์กลวิธีในการแสดงตลกลิเกลูกบท โดยศึกษารวบรวมวิจัยเรื่องข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัย การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์องค์ความรู้ที่สำคัญต่อวงการการแสดงตลกลิเกลูกบทโดยกำหนดขอบเขตการศึกษา พยนต์ แก้วใย บุคคลสำคัญทางวงการตลกลิเกมีอายุ 75 ปี มีอาชีพแสดงตลกลิเกลูกบทเป็นเวลายาวนานถึง 30 ปี จากการศึกษา พบว่า การแสดงตลกลิเกมีองค์ประกอบในการสร้างความตลก คือ 1) เนื้อเรื่อง การสร้างอารมณ์ขันหรือความตลก 2) บุคคลในเรื่องหรือตัวละคร 3) เหตุการณ์ เหตุการณ์ที่นำมาสร้างความตลก 4) กลวิธีการเล่าเรื่อง โดยแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท คือ 1) ตลกคำพูด 2) ตลกเครื่องแต่งกาย 3) ตลกท่าทาง 4) ตลกอุปกรณ์ 5) ตลกสังขาร กลวิธีและหาสยรสในการแสดงตามแนวทางของ พยนต์ แก้วใย พบว่า มีกลวิธีในการพลิกบทบาทจากการแสดงเป็นตัวโกงมาสู่ตัวตลกและเปลี่ยนแปลงจุดด้อยมาเป็นจุดเด่นในการแสดงตลกลิเก จนเป็นนักแสดงตลกลิเกที่โด่งดัง มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไปจนถึงปัจจุบัน โดยสร้างหาสยรสในการแสดงจากจากการร่ายรำ เพลงหน้าพาทย์ เชิด-เสมอ ในรูปแบบของตนเองที่ ได้รับการฝึกหัดมาจากครูทองหล่อ ปลั่งสุวรรณ การขับร้อง การเจรจา การใช้มุกตลก การใช้คำอุปมา-อุปไมยเปรียบเทียบ การนำบทเพลงลูกทุ่งและข่าวสารบ้านเมืองในปัจจุบันมาประยุกต์สร้างสีสันในการแสดงเพื่อความสนุกสนาน รวมถึงกลวิธีในการแต่งหน้า แต่งกาย ตามบทบาทที่ได้รับ เช่น บทบาทพระสงฆ์ บทบาทขอทาน บทบาทผู้หญิง บทบาทเพชรฆาต จนเป็นรูปแบบเฉพาะทางในการแสดงตลกลิเกลูกบทของ พยนต์ แก้วใย สอดคล้องกับการใช้ทฤษฎีการสร้างหาสยรสในการแสดง คือ ทฤษฎีความเหนือกว่า ทฤษฎีความไม่เข้ากัน ทฤษฎีการปลดปล่อยและผ่อนคลาย ทฤษฎีความไม่ลงรอยกันความผิดไปจากสิ่งที่คาดหวังและความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่ไปด้วยกันไม่ได้
References
กุสุมา รักษมณี. (2532). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีสันสกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ปรัชญาวลี มาลัยนาค. (2564). พยนต์ แก้วใย แสดงเป็นตัวตลก หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ในปี พ.ศ.2525. สิงห์บุรี: วัดจุฬามณี.
พยนต์ แก้วใย. ตลกลิเกลูกบท คณะพรเทพ พรทวี. (สัมภาษณ์, 20 กุมภาพันธ์ 2563).
มนตรี ตราโมท (2497). การละเล่นของไทย. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
วิโรจน์ วีรวัฒนานนท์. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลิเก). (สัมภาษณ์, 4 มิถุนายน 2561).
ศิวัช นนทะวงษ์. ทีมข่าว คม ชัด ลึก. ตลกลิเก บันเทิงชาวบ้าน. (สัมภาษณ์,6 ตุลาคม 2554).
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2522). ลิเก. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ.
สมบูรณ์ แย้มสี. หัวหน้าคณะลิเก พรเทพ พรทวี. (สัมภาษณ์, 6 มิถุนายน 2561).
ปรัชญาวลี มาลัยนาค. (2564). พยนต์ แก้วใย แสดงเป็นตัวตลก หลังจากเกิดอุบัติเหตุในปี พ.ศ.2525. [ภาพถ่าย]. สิงห์บุรี: วัดจุฬามณี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.