พุทธศาสน์นาฏกรรม: การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบริบทสังคมร่วมสมัยในพระพุทธศาสนาเรื่องพุทธศาสน์ ศรัทธาผ้าเหลือง
คำสำคัญ:
พุทธศาสน์นาฏกรรม, การสร้างสรรค์นาฏศิลป์, สังคมร่วมสมัย, พุทธศาสน์, ศรัทธา, ผ้าเหลืองบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยพุทธศาสน์นาฏกรรม: การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบริบทสังคมร่วมสมัยในพระพุทธศาสนา เรื่องพุทธศาสน์ ศรัทธา ผ้าเหลือง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ความศรัทธา พระภิกษุสงฆ์และงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ และเพื่อสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบริบทสังคมร่วมสมัยในพระพุทธศาสนาเรื่องพุทธศาสน์ ศรัทธา ผ้าเหลือง ผลการวิจัยพบว่าจากการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ได้สรุปองค์ความรู้การแสดงนาฏศิลป์จากบริบทสังคมร่วมสมัยในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีองค์ประกอบในการแสดง 8 องค์ประกอบ รวมถึงข้อควรคำนึงในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ 9 ประการ จึงทำให้เกิดเป็นผลงานวิจัยสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบริบทสังคมร่วมสมัยในพระพุทธศาสนา ที่แบ่งการแสดงออกเป็น 3 องก์ 12 ช่วง ซึ่งเป็นแนวคิดมาจากสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ อันได้แก่ การเกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไป ทำให้ได้ข้อค้นพบใหม่จากการเลือกนำเสนอแง่คิดทางพระพุทธศาสนาผ่านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ว่าพลังของการสื่อสารผ่านรูปแบบการแสดงโดยที่ปราศจากคำพูดหรือการโน้มน้าวด้วยวาจาโดยตรง สามารถทำให้มนุษย์ทุกคนตีความการรับสื่อจากงานศิลปะอันจะนำไปสู่การพูดคุย ตั้งคำถาม หรือหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
References
กาญจนาณัฐ ประธาตุ. (2560, พฤษภาคม – สิงหาคม). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย: การยืนหยัดและท้าทายในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2548-2558). Journal of Arts Management, 1(2), 103-118.
จินตนา สายทองคำ. (2561, มกราคม – มิถุนายน). กระบวนการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ ชุด สักการะเทวราช. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 10(1), 103-118.
จุติกา โกศลเหมมณี. (2556, กรกฎาคม – ธันวาคม). รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงศ์ จรัสศรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 15(1), 153-159.
ญาณิศา บุญประสิทธิ์. (2559, มกราคม – เมษายน). นาฏศิลป์: สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในเวทีประชาคมอาเซียน. วารสารศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 9(1), 183-214.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). การแสดงในองก์ที่ 3 ดับไป. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). เครื่องแต่งกายนักแสดง. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). ภาพการจัดแสงให้อุปกรณ์เด่น. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). ภาพการจัดแสงให้แสดงเด่น. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). ภาพการแสดงในองก์ที่ 1 เกิดขึ้น. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). ภาพการแสดงในองก์ที่ 2 ตั้งอยู่. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). สรุปองค์การแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์พุทธศาสน์นาฏกรรม: พุทธศาสน์ศรัทธา ผ้าเหลือง.[ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐาปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2561). สรุปองค์ความรู้การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากบริบทสังคมร่วมสมัยในพระพุทธศาสนา. [ภาพถ่าย]. สาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธรรมรัตน์ โถวสกุล. (2543). นาฏยประดิษฐ์ในงานโครงการนาฏยศิลป์ ของภาควิชานาฎยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2534-2541. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศราวุธ จันทรขำ และอนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์. (2563, กรกฎาคม – ธันวาคม). นาฏกรรมกับพระพุทธศาสนาในล้านนา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 16-32.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2554, พฤศจิกายน). คีตกรรมในพระพุทธศาสนา. จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน, 21(246), 7-8.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2555, กรกฎาคม – ธันวาคม). นาฏยทฤษฎี. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 39(3), 103-135.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.