กระบวนการออกแบบองค์ประกอบการเคลื่อนไหวร่างกาย กรณีศึกษาการแสดงชุด “ร่างลวง”: การออกแบบการเคลื่อนไหวร่างกายจากแนวคิดกล้องสลับลาย
คำสำคัญ:
ร่างลวง, การเคลื่อนไหวร่างกาย, กล้องสลับลายบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “ร่างลวง”: การออกแบบการเคลื่อนไหวร่างกายจากแนวคิดกล้องสลับลาย โดยบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ในการทดลององค์ประกอบ 8 ประการ เพื่อออกแบบการเคลื่อนไหวร่างกายจากแนวคิดกล้องสลับลาย งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยตามกระบวนการมาตรฐานงานวิจัยสร้างสรรค์ (Creative Research) ตั้งแต่กำหนดแนวคิดวิธีการดำเนินงาน, ออกแบบร่างจากการวิเคราะห์เอกสารและสื่อ, พัฒนางานจากการทดลองรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง ผ่านองค์ประกอบการแสดง 8 ประการ, การประกอบสร้าง, เก็บข้อมูลรายละเอียด, นำเสนอผลงานการแสดง, สรุปผล ประเมินผล จัดทำรูปเล่มและเผยแพร่งานวิจัยตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. การเคลื่อนไหวร่างกายรวมถึงทิศทางของนักแสดงเกิดจากคำสำคัญ ได้แก่ Line, Shapes, Balance, Symmetric, Reflection ที่ได้จากการทดลองผ่านกล้อง เว็บแคม แม็ก (Webcam Max) 2. ธงสีขาวผืนใหญ่กับที่บังแดด (Anti-Sun) นอกจากมีหน้าที่สร้างความน่าสนใจให้กับการแสดงยังสามารถประยุกต์เป็นจอรับภาพจากโปรเจคเตอร์ (Projector) ได้อีกด้วย 3. เรื่องราวการแสดงแบ่งเป็น 3 ช่วง Illusion, Dimension,Back To Begin, ตามความรู้สึก 3 สภาวะที่ถูกกระตุ้นจากการมองเห็นภาพ (Visual Stimuli) ร่างกายของผู้วิจัยเองผ่านกล้องเว็บแคม แม็ก (Webcam Max) 4. นักแสดงถูก Try Out เพื่อค้นหาตัวแสดงเดี่ยวไม่จำกัดเพศและอายุผู้ซึ่งตอบสนองต่อเพลงที่ได้ยินด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและยังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกตามโครงสร้างเรื่องราวการแสดง ใช้อุปกรณ์ได้คล่องแคล่ว เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีแม้ไม่ใช่นักเต้นรำหรือที่นักออกแบบลีลาในยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern) เรียกว่า Untrained Dancer 5. ดนตรีประกอบการแสดงใช้เพลงยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ของศิลปินนามว่า Philip Glass ที่มีลักษณ์ของเสียงกลมกลืน (Harmony)และขัดแย้ง(Contradict) ในเวลาเดียวกัน ดนตรีไม่ได้กำกับจังหวะแต่ทำหน้าที่โอบอุ้มบรรยากาศของการแสดงไว้ 6.เครื่องแต่งกายสีเข้มดำ เงิน สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวร่างกายไม่กลืนไปกับแสงโปรเจคเตอร์ (Projector) รูปแบบของเครื่องแต่งกายเรียบง่าย (Simplicity) เน้นท่อนล่างกว้างสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก 7.พื้นที่การแสดงเป็นเวทีแบบโพรซีเนียม (Proscenium Arch) ส่งเสริมการแสดงทั้งในด้านองค์ประกอบการแสดงและสมาธิของผู้ชม 8. แสงหลักมาจากแสงของเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ (Projector) แต่ในช่วงสุดท้ายของการแสดงแบ่งน้ำหนักของแสงเป็น 80% จากโปรเจคเตอร์ (Projector) 20% เป็นแสงมาตรฐานจากโคมไฟด้านข้างเวที (Side Lights) ใกล้ Down Stage เพื่อไม่ให้รบกวนแหล่งกำเนิดแสงซึ่งกันและกัน อภิปรายผลการวิจัย การทดลองเชิงปริมาณอาจไม่ใช่คำตอบของการวิจัยสร้างสรรค์ (Creative Research) ก็เป็นได้เพราะวิจัยฉบับนี้มีการทดลอง 3 ครั้งเท่านั้นสันนิษฐานว่าเกิดจากการวางวัตถุประสงค์ที่ตรงประเด็นและการตั้งหมุดหมายของการทดลองในแต่ละครั้งที่ชัดเจน อีกประเด็นหนึ่งการแสดงในปัจจุบันควรมีการออกแบบให้มีความคล่องตัวในการนำไปจัดแสดงโดยมีการควบรวมองค์ประกอบบางอย่างเข้าด้วยกันแต่ยังคงไว้ซึ่งบทบาทความสำคัญและหน้าที่ขององค์ประกอบการแสดงทั้ง 8 ประการ
References
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2543). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาริณี ชํานาญหมอ. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย. (สัมภาษณ์, 10 เมษายน 2561).
ทีมงานเนชั่นทีวี. (2560). จินตนาการสำคัญกว่าความรู้. สืบค้น 22 มีนาคม 2561, จาก https://Www.Nationtv.Tv/Lifestyle/378551072
ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รักษ์สินี อัครศวะเมฆ. (2557). นาฏยศิลป์สสร้างสรรค์สำหรับการแข่งขันยิมนาสติกลีลาในระดับนานาชาติ. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2551). นาฏยศิลป์หลักกายวิภาคและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สทาศัย พงศ์หิรัญ. (2557). ดรสา แบหลา: นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ จากวรรณคดีไทยเรื่อง อิเหนา. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
สิริธร ศรีชลาคม. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). ความเกี่ยวเนื่องของบัลเลต์และคณิตศาสตร์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5(2), 113-123.
Blom, L. A, & L. T. C. (1982). The Intimate Act of Choreography. London: University Of Pittsburgh Press.
M.S.Cerny. (2018). Choreography: A Basic Approach Using Improvisation. (4th Ed.). London: Human Kinetics.
Smith, J. M. (1985). Dance Composition A Practical Guide for Teacher. (2nd Ed.). London: A&C Black.
ธนะพัฒน์ พัฒน์กุลพิศาล.(2561). แสดงผลของภาพโครงสร้างวัตถุรูปทรงเรขาคณิต(Geometric Shapes). [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนะพัฒน์ พัฒน์กุลพิศาล. (2561). แสดงผลการทดลององค์ประกอบด้านอุปกรณ์การแสดง[ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนะพัฒน์ พัฒน์กุลพิศาล. (2561). แสดงผลการทดลององค์ประกอบด้านเครื่องแต่งกาย.[ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนะพัฒน์ พัฒน์กุลพิศาล. (2561). ประมวลภาพการแสดง “ร่างลวง”. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. [วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.