การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของหลักสูตรฯ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการปรับปรุง หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา การประเมินหลักสูตร ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP ของสตัฟเฟิลบีม เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ อาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ กาญจนบุรี โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไป น้อย คือ ด้านบริบท รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ส่วนด้านที่มี ความเหมาะสมในระดับมาก คือ ด้านผลผลิต
2. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ด้านบริบท หลักสูตรควร พัฒนารายวิชาใหม่เพิ่มเติมหรือมีการปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชาที่เปิดสอนให้มีความ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ด้านปัจจัยนำเข้า นักศึกษาและบัณฑิตมีความประสงค์ ให้หลักสูตรฯ เพิ่มงานวิจัยไว้ในแหล่งค้นคว้าห้องสมุดมากกว่านี้ หรือมีการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกับมหาวิทยาลัยให้มีการสืบค้นที่ง่ายขึ้น หลักสูตรควรพัฒนา บัณฑิตในเรื่องการคิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบได้ การประยุกต์ความรู้ใน การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานได้อย่างเหมาะสม การสืบค้น ตีความและประเมิน สารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ให้มากขึ้น
References
ฆนัท ธาตุทอง. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
นิสากร ชูชาติ. (2555). การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาเผยแพร่คณะพุทธศาสตร์ สถาบันธรรมชัย จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต.
บงกช เอี่ยมชื่น. (2555). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2550) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พวงพะยอม แก้วพิลา. (2554). การประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พุทธศักราช 2540 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วลัยพร ทองหยอด. (2554). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วไลพร อาจารีวัฒนา. (2555). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัจฉรา เทียนทอง. (2557). การประเมินหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Krejcie, R. V. & D. W. Morgan. (1970). Determinining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30
Koong. (2558). ปัญหาในการประเมินหลักสูตร. ค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2558 จาก http://ckoong2522.blogspot.com/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.