การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและพิธีกรรมบูชาเจ้าแม่งูจงอาง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อภิวัฒน์ สุธรรมดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา

คำสำคัญ:

เจ้าแม่งูจงอาง, ศาลเจ้าแม่งูจงอาง, เรื่องเล่าเจ้าแม่งูจงอาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่า สัญลักษณ์ บทบาทหน้าที่และ การดำรงอยู่ของความเชื่อเจ้าแม่งูจงอาง โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า เรื่องเล่าเจ้าแม่งูจงอาง จำแนกได้ 4 แบบเรื่องคือ แบบเรื่องแรงอาฆาต แบบเรื่องบนแล้วสมหวัง แบบเรื่องเจ้าแม่งูเข้าฝัน และแบบเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่งู เรื่องเล่าเหล่านี้อธิบายที่มาและยืนยันถึงความ ศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของเจ้าแม่งูจงอาง สัญลักษณ์ในการบูชาเจ้าแม่งูจงอางปรากฏอย่าง โดดเด่นทั้งวัตถุสัญลักษณ์และพฤติกรรมสัญลักษณ์ สัญลักษณ์เหล่านี้ มีความสอดคล้อง กับตำนานและทำให้ความเชื่อเจ้าแม่งูจงอางเป็นรูปธรรม ลักษณะเด่นของวัตถุสัญลักษณ์ คือการสื่อถึงเจ้าแม่งูจงอางในฐานะที่เป็น “งูเจ้า” ส่วนพฤติกรรมสัญลักษณ์สำคัญได้แก่ การบนบานด้วย “ไข่ไก่” สื่อถึงลูกๆ เจ้าแม่งูจงอาง ความเชื่อและพิธีกรรมบูชาเจ้าแม่ งูจงอางมีบทบาทหลักในการตอบสนองทางใจต่อคนเมืองในโลกทุนนิยม การดำรงอยู่ ของความเชื่อนี้สัมพันธ์กับรูปแบบการสื่อสารสมัยใหม่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสาร มวลชน การผสมผสานและกลมกลืนหลายความเชื่อให้เป็นหนึ่งเดียว การมีบทบาทเฉพาะ และเป็นทางเลือกหนึ่งในวิถีเมืองอันซับซ้อน

References

ไตรเทพ ไกรงู. (2559). ศาลเจ้าแม่งูจงอางและลูก : ประวัติกับตำนานอาถรรพ์. ค้นเมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2559. จาก http://www.komchadluek.net.

ที แอล แอล 01 (TLL 01). ค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2558. จาก http://pantip.com/topic/31900335.

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2536). ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5. กรุงเทพฯ : มติชน.

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2550). กาลครั้งหนึ่ง : ว่าด้วยต�านานกับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โลกแห่งตำนาน (World of legend). (2558, 10 พฤษภาคม). [แฟ้มข้อมูลวีดิทัศน์].จาก http://www.youtube.com./

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหมาย งามละม้าย. ผู้ดูแลศาลเจ้าแม่งูจงอาง. (สัมภาษณ์, 15 พฤษภาคม 2558).

อภิวัฒน์ สุธรรมดี, ผู้ถ่ายภาพ. (2559). พฤติกรรมสัญลักษณ์ในการบูชาเจ้าแม่งูจงอาง

ของปัจเจกบุคคลและในพิธีบวงสรวงประจำปี. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อภิวัฒน์ สุธรรมดี. (2559). รูปเคารพเจ้าแม่งูจงอางปรากฏทั้งที่รูปกายเป็นงูและมนุษย์. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อภิวัฒน์ สุธรรมดี. (2559). ศาลเจ้าแม่งูจงอางและลูก (แม่ขวัญ) ตั้งอยู่ริม ถ.พระราม 2 บริเวณปากซอย 48. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อรชร โฉมงาม. ผู้มากราบไหว้ศาลเจ้าแม่งูจงอาง. (สัมภาษณ์, 13 พฤษภาคม 2558). Dundes, A. (Ed.). (1965). The Study of Folklore. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-29