จิตรกรรมเหนือจริงเนื้อหาความเป็นเครื่องจักรกับมนุษย์ กรณีศึกษาผลงานของฮานส์ รูดรอฟ กีเกอร์ ระหว่างปี ค.ศ.1972-1983
คำสำคัญ:
จิตรกรรม, ลัทธิเหนือจริง, ความเป็นเครื่องจักรกับมนุษย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลงานจิตรกรรมเหนือจริงของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ เนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องจักรมนุษย์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1972 -1983 ในประเด็น แนวความคิด ชุดสี การจัดภาพ และเทคนิคการสร้างผลงาน 2) นำข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์มาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเหนือจริง เนื้อหาความเป็น เครื่องจักรมนุษย์ตามแนวคิดจากผลงานของฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ ที่สร้างขึ้นระหว่าง ปี คศ. 1972-1983 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผลงานจิตรกรรมเรื่องเครื่องจักรกับความเป็น มนุษย์ของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์ตาราง กริด แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและผลงานสร้างสรรค์ ของผู้วิจัย เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะโดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวความคิดที่พบมากที่สุดในผลงานจิตรกรรมของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ เนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องจักรมนุษย์ของ ฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ ที่สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1972-1983 เรียงตามลำดับ ได้แก่ แนวความคิดเครื่องจักรกับมนุษย์ เครื่องจักรกับ ความทุกข์ทรมานของเด็ก เครื่องจักรกับสตรีและความตาย ชุดสีที่พบตามลำดับ ได้แก่ สีดำอมน้ำตาล สีน้ำตาลอมเทา และสีขาว การจัดภาพที่พบมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ การจัดภาพแบบซ้ายขวาเหมือนกันแบบแผ่กระจาย การจัดภาพแบบซ้ายขวาไม่ เหมือนกันทั้งในลักษณะไม่แผ่กระจายและแผ่กระจาย เทคนิคการสร้างผลงานที่ พบมากที่สุดมี 3 เทคนิคได้แก่ เทคนิคการระบายสีเกลี่ยเรียบ ใช้พู่กันลม และปากกา เก็บรายละเอียด
2) ผู้วิจัยนำแนวคิดในเรื่องของเครื่องจักรกับมนุษย์และเครื่องจักรกับ ความทุกข์ทรมานของเด็กจากผลงานของฮานส์ รูดอล์ฟ กีเกอร์ ที่สร้างขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ. 1972-1983 มาใช้ในการสร้างผลงานจิตรกรรมเหนือจริง เนื้อหาการใช้แรงงาน เด็กในอุตสาหกรรมประมง ด้วยสีอคริลิคบนผ้าใบ โดยใช้การจัดภาพซ้ายขวาเท่ากันแบบ แผ่กระจาย เทคนิคการระบายสีเกลี่ยเรียบ ใช้พู่กันลม และปากกาเก็บรายละเอียด
References
ไทยรัฐ. (2556). สื่อออนไลน์ ทำเด็ก - สตรี ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง. ค้นเมื่อวันที่15 เมษายน 2558. จาก https://www.thairath.co.th/content/385139.
พรรณธร โภคสุวรรณ. (2559). เครื่องจักรมนุษย์ 1-4 เทคนิคสีอะครีลิคบนผ้าใบ ขนาดภาพ 70x90 ซม. [ภาพวาด]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
พรรณธร โภคสุวรรณ. (ปี พ.ศ.2559). เครื่องจักรมนุษย์ 5.1-5.2 ขนาดภาพ 150x100 ซม. [ภาพวาด]. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
วอลเตอร์, ซี. (2547). ศิลปะแฟนตาสติก. กรุงเทพฯ : ไฟน์อาร์ต ทาชเช่น
สมชาย พรหมสุวรรณ. (2548). หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัธยา โกมลกาญจน และคนอื่นๆ. (2534). อายธรรมตะวันตก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กิ่งจันทร์การพิมพ์.
Giger, H. R. (1974). Li I (สีอครีลิคบนแผ่นไม้ 70X100 ซม). [Painting]. Retrieved 20 February 2558. From http://boingboing.net
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.