ความคิดสร้างสรรค์ : การสอนศิลปะสำหรับเด็ก
คำสำคัญ:
ความคิดสร้างสรรค์, จินตนาการ, การสอนศิลปะสำหรับเด็กบทคัดย่อ
เป็นที่ยอมรับกันว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ควรมี นักจิตวิทยา หลายท่านยอมรับว่าความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นคุณสมบัติที่จะก่อให้เกิดการสร้าง สิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุหรือกระบวนการ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิต การขาดความคิดสร้างสรรค์จะเกิดผลตรงกันข้าม ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติ ติดตัวมาแต่กำเนิด มีกระบวนการก่อเกิดที่ชัดเจน มีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดเรียงตามลำดับ แยกออกมาจากสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่าง สม่ำาเสมอ เพื่อให้สมองมีความคล่องตัวในการคิด คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะไม่ พัฒนา ฉะนั้นควรได้รับการส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่เหมาะสม สมองพร้อมจะ เรียนรู้และเก็บไว้เป็นความสามารถในวัยที่โตขึ้น เราจะพบว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะเฉพาะบุคคลหลายประการ เป็นการยากที่จะให้ลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้รับการฝึกฝนที่ดีและต่อเนื่อง การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมและ มัธยม มีหลักสูตรหลายวิชาที่สำคัญต้องให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ เพื่อเตรียม ความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในสังคมเมื่อโตขึ้น หลายรายวิชาจึงเป็นการเรียนรู้ข้อเท็จ จริงในแต่ละด้าน ฉะนั้นการสอนจึงมุ่งให้เด็กรู้และจดจำข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ ละเลยการ สอนเรื่องการนำไปใช้และการคิดวิเคราะห์ แนวทางเช่นนี้ทำให้เด็กขาดการกระตุ้นเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ในวัยที่เหมาะสมอย่างน่าเสียดาย แต่มีบางรายวิชา เช่น วิชาศิลปะ ซึ่งทั้งหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา ได้กำหนดเป้าหมาย พันธกิจไว้ชัดเจน ข้อหนึ่งว่า เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก บนพื้นฐานความเข้าใจที่ว่า วิชาศิลปะเป็นวิชาที่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ และต้องส่งเสริมในวัยเด็ก เป็นวิชาที่เหมาะสมที่สุดในระดับประถมและมัธยมต้น เหตุผลก็คือ เป็นวิชาที่ไม่มี ถูกจริง ไม่มีผิดจริง ไม่มีรูปแบบตายตัวต้องทำตาม กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ เป็นกระบวนการเดียวกันกับกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นเรื่องง่ายที่ การสร้างงานศิลปะจะส่งเสริมกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในวัยเด็ก และที่สำคัญธรรมชาติ ของเด็กพร้อมที่จะสนุกกับจินตนาการบนกิจกรรมศิลปะ แม้ครูไม่สอนเด็กก็จะสร้างสรรค์ เองที่บ้าน ผ่านเข้าสู่วัยมัธยมปลายแล้วจินตนาการไร้ขอบเขตเริ่มหายไป การเรียนรู้ ข้อเท็จจริงแห่งชีวิตจะเข้ามาแทนที่ ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งคือ วิชาศิลปะโดยเนื้อแท้ไม่ สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ในสังคมได้ แต่ศิลปะจะสร้างบุคคลที่มีความคิด สร้างสรรค์ได้ เมื่อคุณสมบัตินี้ติดตัวถึงวัยผู้ใหญ่ ถูกนำไปใช้คู่กับความรู้ระดับสูงในสาขา ต่างๆ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่ง แปลกใหม่ ที่เป็นประโยชน์ในสังคมได้อย่างไร้ขอบเขต การสอนศิลปะในระดับประถมและมัธยมตอนต้น ควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญ 3 ประการ ดังนี
1. ไม่เน้นการเลียนแบบเหมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว รูปร่าง สี
2.เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้จินตนาการของตนเองมากที่สุด
3. ไม่ควรให้คะแนนจากความเหมือน ความสวย ความเป็นจริง แต่ควรให้ คะแนนจากจินตนาการความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย.
จันทร์จิรา นที. (2548). ผลการจัดกิจกรรมซินเนคติคส์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปริญญ์ ทนันชัยบุตร. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มนูญ ตมะวัฒนา. (2537). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ธีระการพิมพ์.
อารี พันธ์มณี. (2537). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ใยไหม เอดดูเคท.
อารี รังสินันท์. (2528). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
Guilflord, J.P. and Raph.(1950).The Analysis of Intelligence. New York : McGraw-Hill.
Mason, P.(1960). The Knowledge-Creativity. New York : Cambridge University Press.
Torrance, E.P. and Myers, R.E.(1972). Creative Learning and Teaching. New York : Good Mead and Company.
Torrance, E.P. and Myers, R.E. (1965). What Research Says to the Teachers in Creativity. Washington D.C. : Association of Classroom Teachers of the National Education Association.
Wallach,Micheal A. & Kogan,Nathan. (1965). Model of Thinking in Young Children. New York: Rinchart and Winston.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.