ประเพณี “ส่วงเฮือ” ของชุมชนชายฝั่งแม่น้ำโขง : ความเป็นมาและ การรื้อฟื้นหลังนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ประเพณีส่วงเฮือ, ประเพณีบูชาพญานาค, ชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง, ประเพณีการแข่งเรือไทย, ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศลาว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาความเป็นมาของประเพณีส่วงเฮือ (แข่งเรือ) และ การรื้อฟื้นประเพณีส่วงเฮือภายหลังนโยบาย “การเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ของชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง โดยศึกษาหลักฐานจากเอกสาร และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ในชุมชุนชายฝั่งแม่น้ำโขงในเขตจังหวัดมุกดาหาร นครพนม และหนองคาย

ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีส่วงเฮือเป็นประเพณีดั้งเดิมของอาณาจักรล้านช้าง บันทึกไว้ใน “ฮีตสิบสองและคองสิบสี่” ว่า ประเพณีส่วงเฮือเป็นประเพณีบูชาพญานาค ทั้ง 15 ตระกูล ในสมัยล้านช้างไม่ค่อยมีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีส่วงเฮือมา กนัก พบว่ามีหลักฐานในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ.2185) ในบันทึกของ วัน วุส ทอฟ ทูตการค้าชาวฮอลันดา หลักฐานในพงศาวดารเมืองจำปาศักดิ์สมัย เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร (พ.ศ. 2256) และหลักฐานภาพวาดบุญส่วงเฮือ “The Basin of Mekong River” ของ Mr. Deleporte บันทึกไว้ในปี พ.ศ. 2410 ลาวเคยตก อยู่ใต้อำนาจของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2322-2436 รวม 114 ปี และต่อมาตกอยู่ใต้อำนาจ ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436-2497 รวม 61 ปี และได้รับอิสรภาพตั้งแต่ปี พ.ศ.2497-2518 รวม 21 ปี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองข้างต้นไม่พบ หลักฐานเอกสารการจัดประเพณีการส่วงเฮือ จนกระทั่งปี พ.ศ.2522 รัฐบาลไทยและ รัฐบาลลาวได้ร่วมมือกันจัดประเพณีส่วงเฮือเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้นที่ จังหวัดหนองคายเพื่อให้ชาวไทยและชาวลาวมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งทางด้านการค้าและ การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ในปี พ.ศ. 2531 รัฐบาลไทยจึงมีมติให้มีนโยบายให้ จัดประเพณีการแข่งขันเรือยาวเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาวขึ้นตามชุมชน ชายฝั่งแม่น้ำโขงทั้ง 3 จังหวัด จึงได้มีการรื้อฟื้นประเพณีส่วงเฮือหรือการแข่งเรือขึ้นและ มีการจัดการแข่งขันเรือยาวสืบเนื่องเรื่อยมาจนปัจจุบัน 

References

กรมศิลปากร. (2506). ประชุมพงศาวดาร เล่ม 1 (ภาคที่ 1 และภาคที่ 2). พระนคร: ก้าวหน้า.

. (2512). ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40, 43, 44, 45. กรุงเทพฯ : องค์การค้า คุรุสภา.

กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์. (2537). ลู่ทางขยายการค้าและการลุงทุนของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ : ปฤษฐธุรกิจ.

กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ, และกรมศิลปากร. (2542ก). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ, และกรมศิลปากร. (2542ข). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ, และกรมศิลปากร. (2542ค). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดหนองคาย. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

จันดา อุดามาลย์. ร่างทรงเจ้าแม่สองนาง. (สัมภาษณ์, 8 กรกฎาคม 2560).

จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2528). เรื่องฮีตสิบสอง-คองสิบสี่ ระบบการปกครองของชาวลาวและอีสานสมัยเก่า. ใน มูลมรดกชนชาติอ้ายลาว. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระยอดแก้วพุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์ สมเด็จพระสังฆราชแห่งพระราชอาณาจักรลาว ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร 12 มีนาคม 2528.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (ม.ป.ป.) ฉบับปริวรรติ, 56-64.

ดวงมณี เพชรสุวรรณรังสี. (2551). แนวทางการบริหารจัดการประเพณีการแข่งเรือสองฝั่งโขงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์วัฒนธรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เติม วิภาคย์พจนกิจ. (2546). ประวัติศาสตร์อีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เถาะ เหงียนถิ. ร่างทรงเจ้าแม่สองนาง. (สัมภาษณ์, 9 กรกฎาคม 2560).

ทองสมุทร โดเร และสมหมาย เปรมจิตต์. (2539). บันทึกการเดินทางในลาว ภาคหนึ่ง พ.ศ. 2438. เชียงใหม่ : โครงการผลิตเอกสารส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทบวงมหาวิทยาลัย.

ประภัทร์ สวัสดิ์วงศ์ไชย. ชาวจังหวัดมุกดาหาร. (สัมภาษณ์, 27 ตุลาคม 2555).

พิชญ์ สมพอง. (2542). ส่วงเฮือ. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน. เล่ม 13. (น. ๔๔๓๕) . กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มานะ มาลาเพชร. (2537). การค้าชายแดนไทย-ลาว : ปัญหาและทิศทางการค้าชายแดน. กรุงเทพฯ : สถาบันเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. (2548). ฮีตสิบสอง. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.

สมศักดิ์ ศรีวรรธนะ. (2534). นโยบายการเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าบทวิเคราะห์ ด้านจิตวิทยา ศึกษาเฉพาะกรณีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

กรุงเทพฯ : กรมการปกครอง.

สมหมาย เปรมจิตต์ (ผู้แปล). (2539). ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพฯ : มติชน.

สีลา วีระวงศ์. (2530). ฮีตสิบสอง. อุบลราชธานี : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุบลราชธานี.

สุกัญญา สุจฉายา (ผู้ถ่ายภาพ). ( 2560). ภาพการแข่งเรือ บริเวณท่าน้ำวัดเชียงแมนที่หลวงพระบาง.

สุกัญญา สุจฉายา. นักวิจัยประจำศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา. (สัมภาษณ์, 5 กรกฎาคม 2560)

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2543). ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.

อรวรรณ เชื้อหาญ. ชาวจังหวัดมุกดาหาร. (สัมภาษณ์, 27 ตุลาคม 2555).

Pavie, A. (1999). Travel Report of the Pavie Mission. Bangkok : White Lotus.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30